ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | สภาวะการหมักอาหารเหลวที่เหมาะสมสำหรับสุกรระยะเล็ก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อัษฎาวุธ สนั่นนาม |
เจ้าของผลงานร่วม | วรสิทธิ์ โทจำปา , วันดี ทาตระกูล , อมรรัตน์ วันอังคาร , ทินกร ทาตระกูล |
คำสำคัญ | สุกรเล็ก;อาหารหมัก;Lactic acid bacteria |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยนเรศวร |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาเพื่อประเมินสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการหมักอาหารเหลวสุกรเล็ก โดยแบ่งออกเป็นสองการทดลอง ประกอบสูตรอาหารข้นสำหรับสุกรระยะเล็ก โดยใช้ข้าวโพด กากถั่วเหลือง และรำละเอียดเป็นวัตถุดิบหลัก โดยปัจจัยแรกคือ สัดส่วนของอาหารต่อน้ำ และปัจจัยที่สองคือ ระยะเวลาการหมัก สำหรับการทดลองแรก ทดสอบในอาหารพลังงานโดยไม่รวมกากถั่วเหลือง การทดลองที่สองใช้อาหารข้น อาหารทั้งสองชนิดถูกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:2 (กลุ่มทดลองที่ 1), 1:2.5 (กลุ่มทดลองที่ 2) และ 1:3 (กลุ่มทดลองที่ 3) แล้วหมักในสภาพปราศจากอากาศในถังพลาสติกปิดสนิท เป็นระยะเวลา 0, 24, 48 และ 72 ชม. จำนวน 36 ถัง ผลการหมักอาหารพลังงานพบว่า อัตราส่วนอาหารต่อน้ำ 1:2, 1:2.5 และ 1:3 ที่เวลา 72 ชม. มีค่า pH ต่ำที่สุด จำนวน Lactic acid bacteria (LAB) เท่ากับ 11 และ 12 log10 cfu/g และจำนวน Enterobacteriaceae มีค่าต่ำสุดคือ 4 และ 5 log10 cfu/g ได้แก่ส่วนผสมต่ำน้ำ 1:2 ที่ระยะเวลาการหมัก 72 ชม. ผลการหมักอาหารข้นพบว่า ในกลุ่มทดลองที่ 1, 2 และ 3 อัตราส่วนอาหารต่อน้ำ 1:2, 1:2.5 และ 1:3 ที่เวลา 72 ชม. มีค่า pH ใกล้เคียงกันคือ ประมาณ 4.6 มีจำนวน LAB 72 ชม มีค่ามากที่สุดคือ 13 log10 cfu/g จำนวน Enterobacteriaceae มีค่าใกล้เคียงกันคือ 2 และ 3 log10 cfu/g ดังนั้นสรุปได้ว่า อาหารสุกรระยะเล็กหมักที่ไม่รวมแหล่งโปรตีนจากกากถั่วเหลือง ในสัดส่วนอาหารต่อน้ำ 1:2 ระยะเวลา 72 ชม. และอาหารข้นระยะเล็กที่มีแหล่งโปรตีนจากกากถั่วเหลือง สัดส่วนอาหาร 1:2.5 ที่ระยะเวลาการหมัก 72 ชม. มีศักยภาพเหมาะสมที่สุด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=581.pdf&id=725&keeptrack=23 |
สาขาการวิจัย |
|
สภาวะการหมักอาหารเหลวที่เหมาะสมสำหรับสุกรระยะเล็ก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.