ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของการเสริมกรดอินทรีย์และแร่ธาตุอินทรีย์ในอาหาร ต่อสมรรถภาพการผลิต กรดไขมันสายสั้น และจุลินทรีย์ในไส้ติ่งของสุกรอนุบาล
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ปิยะ ลำพรหมสุข
เจ้าของผลงานร่วม ณัฐวุฒิ ครุฑไทย , จำเริญ เที่ยงธรรม , ชาญวิทย์ แก้วตาปี , ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ , ธีรวิทย์ เป่ยคำภา
คำสำคัญ กรดอินทรีย์;ซิงค์ออกไซด์;ซิงค์อะซิเตด;สุกรอนุบาล
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาผลการเสริมกรดอินทรีย์ และสังกะสีอินทรีย์ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต, กรดไขมันสายสั้น และจุลินทรีย์ในไส้ติ่งของสุกรอนุบาล ใช้สุกรลูกผสมสามสาย (แลนด์เร็ซ x ลาร์จไวท์ x ดูรอค) เพศผู้ตอน 40 ตัว เพศเมีย 40 ตัว (น้ำหนักเฉลี่ย 7.24 กก.) สุกรแต่ละเพศถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 4 ตัว ใช้เวลาทดลอง 7 สัปดาห์ โดยได้รับอาหาร 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เสริมซิงค์ออกไซด์ ระดับ 2,300 ppm ในระยะที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เสริมซิงค์- อะซิเตดระดับ 500 ppm ในระยะที่ 1 ร่วมกับกรดอินทรีย์รวมระดับ 3,000 ppm ในระยะที่ 1 และ 2 ผลการทดลอง พบว่า สุกรกลุ่มที่ 2 มีน้ำหนักตัวเมื่อสิ้นสุดการทดลอง และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันมากกว่ากลุ่มที่ 1 แต่ปริมาณอาหารที่กินและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ค่าความเป็นกรดด่างในระบบทางเดินอาหาร ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ และปริมาณกรดไขมันสายสั้นในไส้ติ่งของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นอาหารสุกรในระยะอนุบาลสามารถใช้ซิลค์อะซิเตดระดับ 500 ppm ร่วมกับกรดอินทรีย์ระดับ 3,000 ppm เพื่อทดแทนการเสริมซิงค์ออกไซด์ในระดับ 2,300 ppm โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิตของสุกร
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=651.pdf&id=732&keeptrack=8
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของการเสริมกรดอินทรีย์และแร่ธาตุอินทรีย์ในอาหาร ต่อสมรรถภาพการผลิต กรดไขมันสายสั้น และจุลินทรีย์ในไส้ติ่งของสุกรอนุบาล is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง