ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเล บริเวณอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ และอ่าวตังเกี๋ย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ตะวัน สัญญา |
เจ้าของผลงานร่วม | บุศราศิริ ธนะ |
คำสำคัญ | ค่า power dissipation index (PDI);อุณหภูมิน้ำทะเล;ความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อน |
หน่วยงาน | ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | พายุหมุนเขตร้อนในทุกที่บนโลกมีจำนวนและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นซึ่งพายุหมุนเขตร้อนได้ทำลายทรัพย์สิน ผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ในงานวิจัยอันเก่าๆ ที่ผ่านมาได้มีการแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของค่า power dissipation index (PDI) ซึ่งเป็นตัวหนึ่งที่บอกค่าความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนได้ PDI ได้ใช้ค่าความเร็วลมสูงสุดเป็นตัวนำมาใช้คำนวณกับสมการ ในการศึกษาพบว่าค่า PDI มีค่าเพิ่มขึ้นในบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกและทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกและยังพบการเพิ่มขึ้นของจำนวน ความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนที่ขึ้นไปถึงระดับไต้ฝุ่นระดับ 4 และ 5 มีจำนวนเพิ่มขึ้น Emanuel ได้ศึกษาความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนกับอุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงปี 1975-2004 เป็นระยะเวลา 30 ปี พบว่ามีแค่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือมีแนวโน้มของ PDI เพิ่มขึ้น ในบริเวณที่ผู้วิจัยศึกษาเป็นบริเวณอ่าวไทย ทะเลจีนใต้และอ่าวตังเกี๋ย โดยใช้ค่า PDI มาช่วยในการศึกษา ในปี 1981-2011 เป็นระยะเวลา 31 ปี จากการศึกษาพบว่าแนวโน้มของค่า PDI จะแปรผันกับอุณหภูมิที่ 27-30 C ความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนจะมีค่าสูงขึ้นแต่จำนวนของพายุหมุนเขตร้อนลดลง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53326 |
สาขาการวิจัย |
|
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเล บริเวณอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ และอ่าวตังเกี๋ย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.