ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การระบุพื้นที่ในประเทศไทยที่ได้รับความเสียหายจากอัตราเร็วลมสูงสุดของพายุโซนร้อนโดยใช้แบบจําลองลมอสมมาตร |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อมร คุ้มทรัพย์สิริ |
เจ้าของผลงานร่วม | นันทวัน ศรีปะนะ |
คำสำคัญ | พายุหมุนเขตร้อน;อัตราเร็วลม;ลมอสมมาตร;พื้นที่เสี่ยงภัย |
หน่วยงาน | สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการประมาณค่าอัตราเร็วลมสูงสุดและแสดงแบบจำลองของพายุหมุนเขตร้อนโดยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า แบบจำลองลมอสมมาตร โดยแบบจำลองลมอสมมาตรมีการพิจารณาทิศทางการหมุนของลมและทิศทางการเคลื่อนที่ไปพร้อมกัน ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองโดยใช้ข้อมูลของพายุ GAY เนื่องจากเป็นพายุโซนร้อนที่มีความรุนแรงในระดับพายุไต้ฝุ่นและเคยเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) จากการทดลองพบว่า ส่วนของพายุที่มีทิศทางการหมุนของลมสอดคล้องไปในทางเดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุจะมีอัตราเร็วลมมากกว่าส่วนอื่นๆของพายุ และส่วนของพายุที่มีอัตราเร็วลมสูงสุดจะก่อให้เกิดความเสียหายได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังได้ใช้ฟังก์ชันในแม็ทแล็ปสำหรับแสดงเส้นแนวอัตราเร็วลมของพายุเพื่อใช้สังเกตพื้นที่บริเวณที่ได้รับความเสียหายจากอัตราเร็วลมสูงสุดของพายุ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://paj.pit.ac.th/index.php/paj2014/article/view/151 |
สาขาการวิจัย |
|
การระบุพื้นที่ในประเทศไทยที่ได้รับความเสียหายจากอัตราเร็วลมสูงสุดของพายุโซนร้อนโดยใช้แบบจําลองลมอสมมาตร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.