- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- 616 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าปริมาณน้ำฝนรายวัน ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บริเวณพื้นที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สัญชัย เอี่ยมประเสริฐ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์;การประมาณค่าข้อมูลเชิงพื้นที่;การวัดปริมาณน้ำฝน;เรดาร์ตรวจอากาศ |
หน่วยงาน | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการประมาณค่า ได้แก่ วิธี Inverse Distance Weight, Radial Basis Functions, Kriging, CoKriging และสมการถดถอยเชิงเส้นของข้อมูลเรดาร์ (RADAR) โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายวันจากสถานีวัดน้ำฝนจํานวน 247 สถานีครอบคลุมพื้นที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา และข้อมูลเรดาร์สถานีตรวจวัดอากาศตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ราย 6 นาที ทดสอบความถูกต้องในการประมาณค่าด้วยข้อมูลน้ำฝนรายวันจากสถานีวัดน้ำฝนตัวอย่าง จํานวน 60 สถานี โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์และความแปรปรวนทางเดียว พบว่า วิธีสมการถดถอยเชิงเส้นของข้อมูลเรดาร์ให้ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAE) น้อยที่สุด เท่ากับ 5.81 มิลลิเมตร และจากการทดสอบสถิติรายคู่ F-test ด้วยวิธี LSD พบว่า วิธีดังกล่าวมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์น้อยกว่าวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p0.1) จากผลการศึกษาจึงพบว่า การประยุกต์ใช้ข้อมูลเรดาร์ในการประมาณค่าปริมาณน้ำฝนรายวัน สําหรับพื้นที่ราบ จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2554/b174615.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าปริมาณน้ำฝนรายวัน ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บริเวณพื้นที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.