ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รตนดา อาจวิชัย |
เจ้าของผลงานร่วม | วิมล เขตตะ , เกียรติศักดิ์ อ่อนตามา |
คำสำคัญ | สื่อใหม่;สื่อสารสุขภาพ;สังคมออนไลน์ |
หน่วยงาน | สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | พัฒนาและศึกษาผลของการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาสื่อแบบใหม่ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดย 1. Facebook Page ให้ความรู้เรื่องสุขภาพชื่อ Healthy Delivery มีความสำเร็จ Page อยู่ในระดับปานกลาง Engagement Rate เท่ากับ 0.862 2. ผลการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์สื่อแบบใหม่ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการเข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ทุกวันต่อสัปดาห์มากที่สุดถึงร้อยละ 75.58 แอปพลิเคชันในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ Facebook มากที่สุดถึงร้อยละ 88.95 และมีโอกาสได้เห็นข่าวสารสุขภาพผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ 1-2 วัน ต่อสัปดาห์ มากที่สุดถึงร้อยละ 33.14 เมื่อพบเจอหรือเห็นข่าวสารสุขภาพผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์แล้วกดคลิกเข้าไปอ่าน มากที่สุดถึงร้อยละ 68.60 โดยมีความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในวิธีการนำเสนอข่าวสารสุขภาพบนเฟสบุ๊คแฟนเพจ “Healthy Delivery”อยู่ในระดับมาก |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/199495/139242 |
สาขาการวิจัย | - |
ผลการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.