ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การประยุกต์ใช้ตัวแบบ Network Flow Allocation เพื่อการบริหารจัดการระบบบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน กรณีศึกษา : การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ของบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งในประเทศไทย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ณัฐภูมิ ปิติจารุวิเศษ
เจ้าของผลงานร่วม สราวุธ จันทร์สุวรรณ
คำสำคัญ บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน;ตัวแบบ Network Flow Allocation;บรรจุภัณฑ์คงคลัง;ชิ้นส่วนรถยนต์
หน่วยงาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาประยุกต์ใช้ตัวแบบ Network Flow Allocation เพื่อมาช่วยบริหารจัดการระบบบรรจุภัณฑ์ หมุนเวียนของบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งในประเทศไทยที่ประสบปัญหาการขาดแคลนบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนที่ใช้สำหรับการ ส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ไปยังคู่ค้าในต่างประเทศ การศึกษายังได้พิจารณารูปแบบการใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การใช้งานแบบทางเดียว (Single Transaction) ที่บรรจุภัณฑ์จะถูกใช้ในการบรรจุชิ้นส่วนรถยนต์ จากประเทศไทยเพื่อใช้ในการส่งออกไปยังประเทศต่างๆในระบบ โดยหลังจากนำชิ้นส่วนรถยนต์ออกก็จะส่งบรรจุภัณฑ์ เปล่ากลับมาที่ประเทศไทย และ 2) การใช้งานแบบหลากหลายทาง (Multi Transaction) ที่บรรจุภัณฑ์หมุนเวียนจะ ถูกใช้ในการบรรจุชิ้นส่วนรถยนต์จากประเทศไทยเพื่อใช้ในการส่งออกไปยังประเทศในระบบ โดยหลังจากนำชิ้นส่วน รถยนต์ออกแล้วก็จะนำบรรจุภัณฑ์นั้นมาใช้ในการบรรจุชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อใช้ในการส่งออกไปยังประเทศที่สาม ต่อไป การจัดการดังกล่าวพิจารณาถึงระยะเวลาในการเดินทางของสินค้าไปยังประเทศปลายทางและผลสะสมของบรรจุภัณฑ์ เป็นช่วงเวลาที่สอดคล้องกับระยะเวลาในการเดินทาง นอกจากนั้นตัวแบบยังได้พิจารณาถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดการ เก็บบรรจุภัณฑ์คงคลัง (Safety Stock) ในแต่ละจุดปลายทางเพื่อไว้ใช้งานกรณีที่จะต้องส่งไปใช้ต่อในประเทศที่สาม โดย ผลการศึกษาแสดงว่าตัวแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมและยังสามารถใช้งานบรรจุภัณฑ์คงคลัง (Safety Stock) เพื่อช่วยแก้ปัญหาความไม่ แน่นอนของอุปสงค์ในระบบได้
ข้อมูลเพิ่มเติม http://thaivcml.utcc.ac.th/wp-content/uploads/2018/02/Thai-VCML-Vol-9-No-2-2016.pdf
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


การประยุกต์ใช้ตัวแบบ Network Flow Allocation เพื่อการบริหารจัดการระบบบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน กรณีศึกษา : การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ของบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งในประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.