ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโซ่อุปทานผักปลอดภัยในประเทศไทย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วิญญู ปรอยกระโทก
เจ้าของผลงานร่วม วันชัย รัตนวงษ์ , วัชรวี จันทรประกายกุล
คำสำคัญ การพัฒนาอย่างยั่งยืน;โซ่อุปทานผัก;ผักปลอดภัย
หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาโซ่อุปทานผักปลอดภัยในประเทศไทย และหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโซ่อุปทานผักปลอดภัยในประเทศไทย โดยทำการเลือกผักปลอดภัย (Good Agricultural Practice : GAP) จากข้อมูลของสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีปริมาณพื้นที่การเพาะปลูกที่ได้รับรองผักปลอดภัย (Good Agricultural Practice : GAP) สูงสุดจำนวน 5 ชนิด คือ ขึ้นฉ่าย ตะไคร้ ผักบุ้ง ผักหวาน และโหระพา การศึกษาโซ่อุปทานของผักปลอดภัยทั้ง 5 ชนิด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ผู้ปัจจัยการผลิต เกษตรกร ผู้ค้าและตลาด พบว่า มีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโซ่อุปทานผักปลอดภัยในประเทศไทย ประกอบไปด้วย ปัจจัยหลัก จำนวน 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (Economics Factors) ปัจจัยทางสังคม (Social Factors) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environment Factors) และปัจจัยทางเครือข่ายความร่วมมือในโซ่อุปทาน (Supply Chain Network Factors)
ข้อมูลเพิ่มเติม http://thaivcml.utcc.ac.th/wp-content/uploads/2018/02/Thai-VCML-Vol-9-No-2-2016.pdf
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโซ่อุปทานผักปลอดภัยในประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง