- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
- 481 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเพื่อสุขภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ตรีชฎา อุทัยดา |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | ไอศกรีมเพื่อสุขภาพ;ไอศกรีมมะขาม;ไอศกรีมขิง;ไอศกรีมเสาวรส |
หน่วยงาน | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเพื่อสุขภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น ได้แก่ ไอศกรีมมะขาม ขิง และเสาวรส โดยใช้แบบทดสอบ 9-point Hedonic scale จากการทดลองพบว่า ไอศกรีมมะขามที่ใช้อัตราส่วนของน้ำต่อเนื้อมะขาม เท่ากับ 1 : 2 เติมกรดซิตริก 0.1, 0.2 และ 0.3% ไอศกรีมขิงที่ใช้อัตราส่วนของน้ำต่อเนื้อขิง เท่ากับ 1 : 2 เติมกรดซิตริก 0.1 และ 0.2% และไอศกรีมเสาวรสที่ใช้อัตราส่วนของน้ำต่อเนื้อเสาวรส เท่ากับ 1 : 1 เติมกรดซิตริก 0.2% อัตราส่วนของน้ำต่อเนื้อเสาวรส 1 : 2 เติมกรดซิตริก 0.1 และ 0.2% ให้ค่าร้อยละการขึ้นฟูสูงสุด การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสไม่พบอิทธิพลของอัตราส่วนของ น้ำ : เนื้อ และปริมาณกรดซิตริก ต่อคะแนนความชอบรวมในไอศกรีมแต่ละชนิด แม้ว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของสี กลิ่น และรสชาติ ในตัวอย่าง ไอศกรีมเสาวรส มีค่าคะแนนอยู่ในระดับเฉยๆ-ชอบเล็กน้อย ไอศกรีมมะขามและไอศกรีมเสาวรส และไอศกรีมขิงมีค่าคะแนนอยู่ในระดับไม่ชอบเล็กน้อย-เฉยๆ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://paj.rmu.ac.th/journal/home/journal_file/97.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเพื่อสุขภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.