ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลานิลโดยการแปรรูปเป็นโบโลน่าปลา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เสน่ห์ บัวสนิท
เจ้าของผลงานร่วม จันทร์เพ็ญ บุตรใส , สิริวรรณ สุขนิคม
คำสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปลานิล;โบโลน่าปลา
หน่วยงาน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาปริมาณเจลาตินที่เหมาะสมและวัดค่าทางกายภาพและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่า สูตรผลิตภัณฑ์โบโลน่าปลาที่ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อปลา 500 กรัม น้ำแข็ง100 กรัมน้ํามันพืช 100 กรัม มิกซ์ฟอสเฟต 1.5 กรัม แป้ง 20 กรัม ผงโบโลน่า 15 กรัม เกลือ 10 กรัมและเจลาตินผง 6% ของน้ำหนักส่วนผสม ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบ ด้านสีกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสความชุ่มฉ่ำและความชอบโดยรวมเท่ากับ 5.79,5.98, 6.48,6.03, 6.34และ 6.58 คะแนน ตามลําดับและวัดค่าสี ค่าความสว่าง (L*) เท่ากับ 69.57 ค่าสีแดง (a*) เท่ากับ -1.63 ค่าสี เหลือง (b*) เท่ากับ 5.51 ค่าความแน่นเนื้อเท่ากับ 1.070±12.72N/secความชื้นเท่ากับ 69.65 % และไขมัน 1.26% และจากการศึกษาเจลาตินจากหนังปลาเป็นสารทดแทนไขมันในผลิตภัณฑ์โบโลน่าปลานิล พบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบผลิตภัณฑ์มากที่สุดคือ เจลาตินจากหนังปลาคือ 6% ของน้ำหนักส่วนผสม โดยให้คะแนนทางด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส ความชุ่มฉ่ำ และความชอบโดยรวมเท่ากับ 6.60,6.13,6.76,6.70, 7.06 และ 7.00 คะแนน ตามลําดับและวัดค่าสี มีค่าความสว่าง (L*) เท่ากับ 1.89 ค่าสีแดง (a*) เท่ากับ-1.31 ค่าสีเหลือง (b*) เท่ากับ 7.36 ค่าความแน่นเนื้อเท่ากับ 1026.97 ±7.07N/sec ความชื้นเท่ากับ 67.83 % และไขมัน 1.26 % เมื่อนํามาวิเคราะห์ค่าทางสถิติพบว่า แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสําคัญ (P≤ 0.05)
ข้อมูลเพิ่มเติม http://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2556/2556239509901.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลานิลโดยการแปรรูปเป็นโบโลน่าปลา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง