- รศ.ดร. วาริน อินทนา
- 292 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | คุณค่าทางโภชนาการของแมลงกินได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อรนุช สีหามาลา |
เจ้าของผลงานร่วม | หนูเดือน สาระบุตร , พรประภา ชุนถนอม , ศุภชัย ภูลายดอก |
คำสำคัญ | แมลงกินได้;แมลงสะดิ้ง;กรดไขมันที่จำเป็น;กรดไขมันลิโนเลอิค;คุณค่าทางโภชนาการ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมลงที่บริโภคได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ แมลงสะดิ้ง จิ้งหรีด แมลงกินูน แมลงตับเต่า แมลงกระชอน แม่เป้ง แมลงดานา มดแดง แมลงแคง และดักแด้ไหม พบว่า แมลงสะดิ้งมีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดคือมีค่าเท่ากับร้อยละ 59.7 โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนดักแด้ไหมมีปริมาณโปรตีนต่ำที่สุดคือมีค่าเท่ากับร้อยละ 38.9 โดยน้ำหนักแห้ง ปริมาณไขมันของแมลงพบว่า มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 6.4-29.6 โดยน้ำหนักแห้งแมลงทุกชนิดพบว่า มีกรดไขมันที่จำเป็น โดยกรดไขมัน linoleic acid และ α-linolenic acid มีค่าอยู่ระหว่าง 88.63-1970.29 และ 42.01-1537.99 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่างตามลำดับ พบว่า แมลงตับเต่ามีปริมาณกรดไขมัน Linoleic acid สูงที่สุดคือมีค่าเท่ากับ 1970.29 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่าง ส่วนจิ้งหรีดมีปริมาณกรดไขมัน α-linolenic acid สูงที่สุดคือ มีค่าเท่ากับ 1537.99 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่าง แมลงเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/159288/115210 |
สาขาการวิจัย |
|
คุณค่าทางโภชนาการของแมลงกินได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.