- รุ่งทิวา เสาร์สิงห์
- 449 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ป่าสาคูในจังหวัดพัทลุง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สมสมัย เอียดคง |
เจ้าของผลงานร่วม | วิจิตรา อมรวิริยะชัย , วราภรณ์ ทนงศักดิ์ , ฉลอง แก้วประเสริฐ |
คำสำคัญ | ต้นสาคู;ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
หน่วยงาน | สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ศึกษาพื้นที่ป่าสาคู การใช้ประโยชน์และแนวทางในการจัดการป่าสาคูโดยชุมชนมีส่วนร่วม ใน 8 อำเภอของจังหวัดพัทลุง เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การศึกษาเชิงปริมาณ พบป่าสาคู แยกเป็นรายอำเภอดังนี้ อำเภอศรีบรรพต พบประมาณ 23 ไร่ อำเภอป่าพยอม พบประมาณ 12 ไร่ อำเภอควนขนุน พบประมาณ 23 ไร่ อำเภอป่าพะยอม พบประมาณ 72 ไร่ อำเภอเมือง พบประมาณ 65 ไร่ อำเภอกงหรา พบประมาณ 9 ไร่ อำเภอเขาชัยสน พบประมาณ 53 ไร่ และอำเภอบางแก้วพบประมาณ 52 ไร่ รวมทั้ง 8 อำเภอพบประมาณ 510 ไร่ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา(พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2559) ป่าสาคูถูกทำลายไปอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มพื้นที่ป่าสาคูจะลดลงเรื่อยๆ สาเหตุการลดลงของพื้นที่เกิดจากการขุดลอกคูคลองของหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐ ส่วนการใช้ประโยชน์จากสาคูก็ลดลงเช่นกัน เพราะต้นสาคูได้รับความสนใจน้อยลงและถูกทำลายมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากต้นสาคู นำมาใช้รูปแบบของแป้งที่สกัดจากลำต้นมาทำขนมพื้นบ้านลำต้นใช้เลี้ยงด้วง เปลือกของทางใบนำมาสานเสื่อ ใบนำมาเย็บจากมุงหลังคา ชาวบ้านมีรายได้จากต้นสาคูเฉลี่ยครัวเรือนละ ประมาณ 4,000 บาท/เดือน ประโยชน์ด้านระบบนิเวศนั้น สาคูช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งซับน้ำช่วยชะลอความเร็วของน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ สัตว์บก สาคูมีความสำคัญกับระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และสังคม |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/101047/78454 |
สาขาการวิจัย |
|
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ป่าสาคูในจังหวัดพัทลุง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.