ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การเมืองของถ้อยคำในชายแดนใต้/ปาตานี: การประกอบสร้าง “สันติภาพ” ในความขัดแย้งชาติพันธุ์การเมือง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รอมฎอน ปันจอร์
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ กระบวนการสันติภาพ;การขยายความเป็นการเมือง;การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง;การพูดคุยเพื่อสันติภาพ;การเมืองของการเรียกขาน;การเมืองวัฒนธรรม;จังหวัดชายแดนภาคใต้;ถ้อยคำที่เคลื่อนตัว;ปัตตานี;ปาตานี;สันติภาพ
หน่วยงาน สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การมุ่งวิเคราะห์ถ้อยแถลงที่เป็นทางการของคู่ขัดแย้ง ผ่านการวิจัยเอกสารของรัฐไทย และขบวนการปลดปล่อยปาตานีเป็นด้านหลักและเสริมด้วยการสัมภาษณ์แหล่งข้อมูลที่เป็นตัวแสดงสำคัญในความขัดแย้ง ตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งเป็นช่วงที่ความรุนแรงเริ่มปรากฏขึ้นมาในแบบแผนใหม่ ผ่านจุดเปลี่ยนสำคัญหลายห้วง จนกระทั่งการพูดคุย เพื่อสันติภาพปรากฏต่อสาธารณะในปี 2556 และดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันในปี 2559 พบว่าเมื่อ “รัฐไทย” เผชิญหน้ากับ “ขบวนการปลดปล่อยปาตานี” รัฐได้พยายามกำหนดถ้อยคำเรียกขานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งเพื่อสะกดสถานการณ์ไม่ให้พัฒนา ไปสู่จุดที่ไม่พึงปรารถนา พร้อมทั้งสกัดกั้นความหมายของความรุนแรงไม่ให้ยกระดับไปเป็นประเด็น ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ถ้อยคำทางการทำหน้าที่ในการลดทอนความเป็นการเมืองให้กับความขัดแย้ง กร่อนเซาะความชอบธรรมของฝ่ายตรงข้าม และเสริมน้ำหนักของเหตุผลรองรับการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ความขัดแย้ง แต่อำนาจในการควบคุมความหมายของรัฐก็มิได้มีอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะมักจะถูกท้าทาย ช่วงชิง และต่อรองจากตัวแสดงอื่น ๆ เสมอ
ข้อมูลเพิ่มเติม http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5203030209_3672_3585.pdf
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์
Creative Commons License


การเมืองของถ้อยคำในชายแดนใต้ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง