- ดวงกมล สวัสดิ์ชัยสิทธิ์
- 336 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | วาทกรรมความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้และหนังสือพิมพ์ระดับชาติ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ชนกพร อังศุวิริยะ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | วาทกรรมความรุนแรง;หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น;หนังสือพิมพ์ระดับชาติ |
หน่วยงาน | ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การวิเคราะห์ความรุนแรงจากเหตุการณ์สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านข่าวหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้ และหนังสือพิมพ์ระดับชาติ ระหว่างปี พ.ศ.2547-2548 และปี พ.ศ.2554-2555 รวม 1,344 ฉบับ พบว่า วาทกรรมความรุนแรงดังกล่าวสื่อผ่านภาษาทั้งวัจนภาษา ได้แก่ การเป็นประธานแสดงตำแหน่ง คือประธานที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ผู้ก่อการร้าย ผู้ได้รับผลกระทบ ผู้สังเกตการณ์ การละประธานแสดงตำแหน่งที่หายไป ได้แก่ ละประธานที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ผู้ก่อการร้าย และผู้ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์หรือผู้สังเกตการณ์ และอวัจนภาษา ได้แก่ ภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ความเสียหายต่อสถานที่/วัตถุสิ่งของ ผู้ได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ และผู้ก่อการร้าย หนังสือพิมพ์ทั้งสองประเภทเสนอข่าวดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง การสร้างวาทกรรมความรุนแรง ทำให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวน่ากลัว โหดร้ายรุนแรง และไม่ใช่พื้นที่น่าอยู่อีกต่อไป |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/32275/27564 |
สาขาการวิจัย |
|
วาทกรรมความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้และหนังสือพิมพ์ระดับชาติ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.