ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือดจากการใช้ อุปกรณ์สอดช่องคลอดเพื่อควบคุมการเป็นสัดในกระบือปลัก
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ณัฐวุฒิ อภิชัย
เจ้าของผลงานร่วม ณรงค์พัชร น้ำใจสุข , จตุพงษ์ ปัทมะ , เพทาย พงษ์เพียจันทร์ , วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์
คำสำคัญ กระบือปลัก;การเหนี่ยวนำการเป็นสัด;อุปกรณ์การเหนี่ยวนำการเป็นสัดแบบสอดช่องคลอด
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในเลือดของกระบือปลัก จากการใช้อุปกรณ์เหนี่ยวนำการเป็นสัดแบบสอดช่องคลอด ที่ผลิตขึ้นเปรียบเทียบกับอุปกรณ์การเหนี่ยวนำการเป็นสัดแบบสอด ช่องคลอดทางการค้า โดยแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ใช้อุปกรณ์การเหนี่ยวนำการเป็นสัดแบบสอดช่องคลอดทางการค้า (Control : n=3) กลุ่มที่ 2 ใช้อุปกรณ์การเหนี่ยวนำการเป็นสัดแบบสอดช่องคลอดที่ผลิตขึ้น (MJID1 : n=3) และกลุ่ม ที่ 3 ใช้อุปกรณ์การเหนี่ยวนำการเป็นสัดแบบสอดช่องคลอดที่ผลิตขึ้น (MJID2 : n=3) โดยกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มจะทำการสอดอุปกรณ์เหนี่ยวนำการเป็นสัดเข้าช่องคลอดพร้อมกับฉีด 100 mg/ml P4 + 2 mg/ml E2 ในวันที่ 0 และวันที่ 6 ทำการฉีดฮอร์โมน PGF2α วันที่ 7 ถอดอุปกรณ์เหนี่ยวนำเป็นสัด วันที่ 8 ทำการฉีดฮอร์โมน Estradiol Benzoate 1mg/ml เฝ้าสังเกตการเป็นสัดในช่วง 24-36 ชั่วโมง โดยจะทำการเก็บตัวอย่างเลือดกระบือปลักเป็นเวลา 10 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มสอดอุปกรณ์เพื่อทำการวัดปริมาณของโปรเจสเตอโรนในเลือด ด้วยเทคนิค ELISA ผลการทดลองพบว่ากระบือปลักในกลุ่ม MJID2 มีปริมาณโปรเจสเตอโรนในเลือดสูงกว่ากลุ่มทางการค้า (Control) และกลุ่ม MJID1
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=95.pdf&id=762&keeptrack=16
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การศึกษาระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือดจากการใช้ อุปกรณ์สอดช่องคลอดเพื่อควบคุมการเป็นสัดในกระบือปลัก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง