ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในวรรณคดียอพระเกียรติสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ปราโมทย์ สกุลรักความสุข
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ พระมหากษัตริย์;วรรณคดียอพระเกียรติ;สมัยกรุงศรีอยุธยา;สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
หน่วยงาน สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย กวีใช้กลวิธีเสนอความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตรย์ 8 กลวิธี ได้แก่ การใช้ความเปรียบแบบอุปมา การใช้ความเปรียบแบบอุปลักษณ์ การใช้คำเปรียบแบบอติพจน์ การใช้ความเปรียบแบบสมพจนัย การใช้ความเปรียบแบบนามนัย การใช้ความเปรียบแบบปฏิปุจฉา การใช้ความเปรียบแบบการอ้างถึง และการใช้สัญลักษณ์ ส่วนแนวคิดในการใช้ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์พบว่า กวีหรือบุคคลในสังคมมีแนวคิดว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีประราชฐานะอันสูงส่งดั่งพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ เทพเจ้า ตลอดจนอยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงมีพระคุณสมบัติอันประเสริฐทั้งพระลักษณพระสติปัญญา พระคุณธรรม และพระปรีชาสามารถ ทรงมีสิ่งเสริมพระบารมีที่ยิ่งใหญ่ได้แก่ ทรงมีพระราชทรัพย์อันวิเศษ และความมหัศจรรย์ที่ทรงบันดาล การใช้ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้มีการสืบทอดขนบตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในกลวิธีการอุปมา อติพจน์ สมพจนัย ปฏิปุจฉา และการอ้างถึง พบพัฒนาการในการใช้ความเปรียบอันแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของกวี และความเชื่อความศรัทธาที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา
ข้อมูลเพิ่มเติม http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Tha(M.A.)/Pramote_S.pdf
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในวรรณคดียอพระเกียรติสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง