ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลการปรับปรุงคุณภาพชานอ้อยด้วยยูเรีย และการใช้ยูเรียร่วมกับเมล็ดถั่วเหลืองดิบบด ต่อคุณค่าทางโภชนะและการย่อยได้ โดยวิธี In Vitro technique
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง กันยา พลแสน
เจ้าของผลงานร่วม สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์ , วิโรจน์ ภัทรจินดา , ภัทรภร ทัศนพงษ์ , ญาดา พลแสน
คำสำคัญ ชานอ้อย;ยูเรีย;ถั่วเหลืองบด;การย่อยได้แบบ in vitro technique
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาคุณค่าทางโภชนะและการย่อยได้ของสิ่งแห้ง (IVDMD) และอินทรียวัตถุ (IVOMD) โดยวิธี in vitro technique ในชานอ้อย (bagasse: BG) ก่อนและหลังปรับปรุงคุณภาพโดยการหมักยูเรีย (urea:U) และยูเรียร่วมกับถั่วเหลืองดิบบด (soybean: SB) แบ่งเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้ BG (control), BG+2%U, BG+4%U, BG+6%U, BG +2%U+0.4%SB, BG+4%U+0.4%SB, BG+6%U+0.4%SB และ BG+0.4%SB ผลการศึกษาพบคุณค่าทางโภชนะในชานอ้อยก่อนปรับปรุงมีโปรตีนหยาบ (CP)1.73 ± 0.13% และไขมัน (EE) 0.30 ± 0.02%, เยื่อใย (CF), ผนังเซลล์ (NDF), เซลลูโลลิกนิน (ADF) และลิกนิน (ADL) 38.44 ± 1.19%, 91.86±2.08%, 64.06±1.45% และ 8.30±0.48% ค่าการย่อยได้ IVDMD และ IVOMD มีค่า 25.77±1.27% และ 26.58 ± 0.50% สำหรับชานอ้อยที่ปรับปรุงพบว่า CP เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มทดลอง โดยการใช้ยูเรียในระดับที่สูงขึ้นมีแนวโน้มทำให้ NDF และ ADL ลดลง ส่วน IVDMD และ IVOMD ทุกกลุ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ control
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=1141.pdf&id=781&keeptrack=17
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลการปรับปรุงคุณภาพชานอ้อยด้วยยูเรีย และการใช้ยูเรียร่วมกับเมล็ดถั่วเหลืองดิบบด ต่อคุณค่าทางโภชนะและการย่อยได้ โดยวิธี In Vitro technique is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง