ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาโปรแกรมฝึกความจำขณะทำงานตามหลักการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกาย แบบลาบาน สำหรับเพิ่มความสามารถในการกำกับอารมณ์ของวัยรุ่น: การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จุฑาทิพย์ โพธิ์ทิ |
คำสำคัญ | การกำกับอารมณ์/ ความจำขณะทำงาน/ การเคลื่อนไหวร่างกายแบบลาบาน/ กิจกรรมทดสอบการกำกับอารมณ์/ คลื่นไฟฟ้าสมอง |
หน่วยงาน | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | โปรแกรมฝึกความจำขณะทำงานตามหลักการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายแบบ ลาบาน ซึ่งประกอบด้วยการฝึกความจำขณะทำงานโดย N-Back Task และการเคลื่อนไหวตามหลัก การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายแบบลาบาน ทำให้มีการเปิดใช้งานสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การกำกับอารมณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ Dorsolateral Prefrontal Cortex (dlPFC) เกี่ยวข้องกระบวนการควบคุมความรู้ความเข้าใจ Ventrolateral Prefrontal Cortex (vlPFC) กิจกรรมในพื้นที่นี้เห็นได้ชัดเมื่อมีการลดความคิดเชิงลบในระหว่างการกำกับอารมณ์ และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมยับยั้งจากสิ่งเร้าที่กระตุ้นทั้งด้านอารมณ์และด้านที่ไม่ใช่อารมณ์ Anterior Cingulate Cortex (ACC) การเปิดใช้งานจะเพิ่มขึ้นในระหว่างการทำงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการของสมองด้านอารมณ์และความรู้ความเข้าใจซึ่งเป็นโครงสร้างการถ่ายทอดประสาทที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการตอบสนอง และ ACC มีการเชื่อมต่อแบบสองทิศทางที่ครอบคลุม Dorsolateral, Orbitofrontal และพื้นที่ Insular ของ Cerebral Cortex ด้วย Ventral Striatum (VS) ใน Basal Ganglia ที่เชื่อมต่อกับโครงสร้าง Limbic เช่น Amygdala, Hippocampus, Midline Thalamus และบางส่วนของพื้นที่สมองส่วนหน้า ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาวะอารมณ์และแรงจูงใจของพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างยิ่งในการประมวลผลและการคาดหวังของรางวัลด้วย ซึ่งการเปิดใช้งานสมองดังกล่าวข้างต้นจะส่งผลให้ความสามารถในการกำกับอารมณ์เพิ่มขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | - |
สาขาการวิจัย |
|