ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง เครื่องประดับเซรามิก:เอกลักษณ์ภูมิปัญญาสุ่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ธนกฤต ใจสุดา
เจ้าของผลงานร่วม ภัทรา ศรีสุโข , ณภัค แสงจันทร์
คำสำคัญ โอกาสทางการตลาด;เอกลักษณ์ภูมิปัญญา;เครื่องประดับเซรามิก;ทุนทางวัฒนธรรม
หน่วยงาน คณะศิลปสาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ศึกษากระบวนการผลิตเซรามิกในแหล่งต่างๆของประเทศไทย วิเคราะห์เอกลักษณ์เชื่อมโยงสู่การออกแบบเครื่องประดับ ควบคู่กับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและแนวทางในการพัฒนาเครื่องประดับเซรามิกเพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับเซรามิก พบว่า เซรามิกมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเครื่องประดับด้วยเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาและกระบวนการผลิตและการตกแต่งที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย โดยแหล่งผลิตเซรามิกของไทยแต่ละแห่งสามารถบอกเล่าเรื่องราว และแสดงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตนเองได้อย่างดี ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดการออกแบบลูกผสม( Hybridization ) โดยกำหนดให้เซรามิกแหล่งสุโขทัยและแหล่งสมุทรสาคร เป็นแบบร่วมสมัย เครื่องประดับกลุ่มหรูหรา สำหรับผู้หญิงช่วงอายุ 25-36 ปี และเซรามิกแหล่งราชบุรีและแหล่งลำปางเป็นแบบร่วมสมัย เครื่องประดับกลุ่มแฟชั่น สำหรับผู้หญิงช่วงอายุ 36-45 ปี ผลที่ได้คือช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดให้ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ เป็นการใช้ประโยชนืจากวัสดุ และเทคนิค กระบวนการที่เป็นเอกลักษณ์จากภูมิปัญญามาเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.tci-thaijo.org/index.php/jfofa/article/view/209811/145232
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


เครื่องประดับเซรามิก:เอกลักษณ์ภูมิปัญญาสุ่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง