ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | หยาดพิรุณ นาชัยสินธุ์ |
คำสำคัญ | ยุทธศาสตร์;การก่อการร้าย;ต่อต้านการก่อการร้าย;ไซเบอร์ |
หน่วยงาน | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ศึกษาความก้าวหน้าทางไซเบอร์ที่มีการนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์การก่อการร้ายในประเทศไทย พัฒนายุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ความก้าวหน้าทางไซเบอร์ คือ การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็วสะดวกขึ้น การก่อการร้ายทางไซเบอร์เป็นการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตหรือเครื่องมือประเภทอื่นๆที่เชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อการก่อการร้าย และอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่สำคัญที่ใช้ในการก่อการร้ายยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทยคือ READ:CLIP ประกอบด้วย 1. Research ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการวิจัยเพื่อการพัฒนาทางไซเบอร์ 2.Education ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาในการสร้างพื้นฐานของประชาชนในประเทศไทย 3. Awareness ยุทธศาสตร์การสร้างการตระหนักรู้ทางไซเบอร์ให้กับประชาชน 4. Development ยุทธศาสตร์การพัฒนาความก้าวหน้าทางไซเบอร์ 5. Coordinate ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 6.Law ยุทธศาสตร์การกำหนดใช้กฎหมายทางไซเบอร์และการใช้บังคับกับประชาชน 7.Integration ยุทธศาสตร์การใช้บูรณาการร่วมกันแบ่งปันข้อมูล 8.Perception Prepares and Protectยุทธศาสตร์การรับรู้ทางไซเบอร์ร่วมกัน ตระเตรียมและปกป้องทางไซเบอร์ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://research.dusit.ac.th/new/upload/file/0c21cad9cd8befc9b80a3d2b8f4db2e8.pdf |
สาขาการวิจัย | - |
ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.