ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การวิเคราะห์โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วรเมธ ศรีวนาลักษณ์ |
คำสำคัญ | ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา;น้ำหลากตามฤดูกาล;การจําแนกสิ่งปกคลุมผิวดิน;การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม;การคํานวณดัชนีเชิงคลื่น |
หน่วยงาน | ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมเจ้าพระยาเป็นภูมิทัศน์ที่เกิดจากกระบวนการธารน้ำ การสะสมของตะกอนแม่น้ำจนเกิดเป็นที่ราบกว้าง เมื่อสิ้นฤดูฝนและน้ำที่ไหลหลากมาจากพื้นที่ตอนบนลดลง น้ำในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาจะลดลงและแห้งไปเกิดลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมตามฤดูกาล ปัจจุบันการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ําเจ้าพระยา เช่น การขยายตัวของเมือง การสร้างโครงสร้างป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยา การทําระบบชลประทานทําให้ระบบน้ำของพื้นที่เปลี่ยนไป การศึกษาการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่า การพัฒนาเมืองขยายตัวเมืองออกไปยังพื้นที่นาซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำกว่าที่ทําหน้าที่รับน้ำหลากในช่วงฤดูน้ำหลาก การพัฒนาระบบชลประทานเกิดเป็นพื้นที่ปดล้อม ทําให้พื้นที่ที่เคยเชื่อมต่อกันเป็นผืนกว้าง แยกออกเป็นส่วนๆ น้ำหลากที่เคยสามารถไหลแผ่ตามพื้นที่ถูกจำกัดให้ไหลอยู่เพียงในคลองชลประทาน คลองระบายน้ำ ส่งผลทําให้ระดับน้ำหลากในอดีตและกลายเป็นปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน การพัฒนาเมืองในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น สิ่งที่ควรคํานึงถึง คือ พื้นที่รับน้ำหลากเพื่อให้เมืองมีความสอดคล้องกับเงื่อนไขของพื้นที่ ไม่เกิดเป็นปัญหาเมืองขวางน้ำ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/sarasatr/article/view/189773/142338 |
สาขาการวิจัย | - |
การวิเคราะห์โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.