ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทยวนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์
เจ้าของผลงานร่วม สมทรง บุรุษพัฒน์
คำสำคัญ ไทยวน;วรรณยุกต์;วรรณยุกต์ไทยวน;ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์;ภูมิศาสตร์
หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การวิเคราะห์และเปรียบเทียบระบบเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยวนที่พูดในประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และจัดทําแผนที่ภูมิศาสตรฺวรรณยุกต์ของภาษาไทยวนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเก็บข้อมูล จํานวน 22 จุด จาก 14 จังหวัดในประเทศไทย 3 แขวงในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 1 เมืองในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์พบว่า ภาษาไทยวนในประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มีรูปแบบการแยกเสียงรวมเสียง 5 กลุ่ม คือ 1) ระบบวรรณยุกต์ที่พบส่วนใหญ่เป็นแบบ A12-34 และ BCD123-4 2) แบบ A12-34 และ BCD123-4 (B4=DL4=DS4) พบเฉพาะแขวงบ่อแก้ว ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) แบบ A12-34 และ BCD123-4 (A34 = B123 = DL123) พบที่อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (เชียงใหม่ตอนใต้) และอําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 4) แบบ A12-34 BDL1234 และ CDS123-4 พบที่อําเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทยและแขวงไชยะบุรี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 5) แบบ A12-34 และ BCD123-4 (A34=B123=DL123, B4=C4=DL4) พบที่จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษาเหล่านี้ได้แสดงและจัดทําเป็นแผนที่ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ของภาษาไทยวนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/116834/138965
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทยวนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง