ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความชุกและความสัมพันธ์ของพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาเกล็ดขาว และไข่ในอุจจาระคน กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหลวง จังหวัดเชียงราย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พิณัฎฐิณีย์ จิตคำ |
คำสำคัญ | พยาธิใบไม้;เมตาเซอร์คาเรีย;ปลาเกล็ดขาว |
หน่วยงาน | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | งานวิจัยเรื่องนี้การศึกษาครั้งนี้ ได้สำรวจความชุกของพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรีย ในปลาเกล็ดขาว ในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวนปลาทั้งหมด 360 ตัว 11 ชนิด นำมาตรวจหาตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรีย พบ อัตราความชุกของการติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาเกล็ดขาวทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 39.17 (141/360) ชนิดของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียที่ตรวจพบมากที่สุด คือ Haplorchoides sp. รองลงมาคือ Centrocestus formosanus จากผลการศึกษาพบว่าการบริโภคปลาน้ำจืดแบบดิบทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อกลุ่มพยาธิใบไม้ที่สามารถติดต่อจากปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหลวง จังหวัดเชียงราย |
ข้อมูลเพิ่มเติม | - |
สาขาการวิจัย |
|
ความชุกและความสัมพันธ์ของพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาเกล็ดขาว และไข่ในอุจจาระคน กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหลวง จังหวัดเชียงราย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.