- กุลบัณฑิต แสงดี
- 616 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อันธิกา ทิพย์จำนงค์ |
คำสำคัญ | การตลาด;พฤติกรรมผู้บริโภค;ผ้าทอพื้นเมือง |
หน่วยงาน | สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษากระบวนการผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าทอกระแสร์สินธุ์ และศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผ้าทอพื้นเมืองรวมถึงแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอกระแสสินธุ์ พบว่า กลุ่มผ้าทอกระแสสินธุ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มประกอบด้วย ผ้าทอลายผกากรอง ลายสายฝน ลายกำแพงแก้วลายพวงชมพู ลายดอกพิกุล ลายบานไม่รู้โรย ลายลูกเต๋า ลายลูกแก้ว และลายผ้าลายยกดอก ลายผ้าที่ทอในปัจจุบันเป็นลายประยุกต์มากกว่าลายดั้งเดิมจุดเด่นผลิตภัณฑ์คือ มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เนื้อผ้าแน่นไม่หนา การผลิตของกลุ่มเป็นการผลิตเพื่อประกอบอาชีพและหารายได้โดยใช้ความเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นจุดขายที่สำคัญมี 2 ลักษณะคือ 1.) การผลิตเพื่อวางจำหน่าย ณ ที่ทำการกลุ่ม การฝากขายตามแหล่งต่างๆ และการจำหน่ายตามงานแสดงสินค้า 2.) การผลิตตามการสั่งซื้อของลูกค้า การกำหนดราคาขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลายผ้า ปัญหาที่พบคือเส้นใยขาดแคลนและมีต้นทุนสูง ลูกค้าพื้นที่เริ่มอิ่มตัว ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคผ้าทอพื้นเมือง พบว่ามีปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมืองระดับมากคือ ความคงทนในการใช้งาน รองลงมาคือความประณีตสวยงาม แหล่งผลิตเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง แนวการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์คือการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบความแตกต่างซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ตลอดจนส่งเสริมให้เห็นความสำคัญการใช้ผ้าทอพื้นเมืองในชีวิตประจำวันและในโอกาสต่างๆเพื่อขยายตลาดผ้าทอพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/viewFile/5048/4806 |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.