ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | อ้อยเอนกประสงค์โคลนพันธุ์ SRS2000-5-14 |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | ประชา ถ้ำทอง , กนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์ , วิภาวรรณ ดวนมีสุข , เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง , อภิวันท์ วรินทร์ , กฤชพร ศรีสังข์ , สมเพชร พรมเมืองดี |
คำสำคัญ | อ้อย;อ้อยเอนกประสงค์ |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | อ้อยโคลน SRS2000-5-14 ได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ RT96-018 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี นำมาคัดเลือกและประเมินผลผลิตที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย โดยนำกล้าลูกอ้อยจำนวน 11 คู่ผสม จำนวน 3,280 โคลน คัดเลือกขั้นที่ 1 และ 2 ในปี 2544-2546 ประเมินผลผลิตโดยทำ การเปรียบเทียบเบื้องต้น ในปี 2546-2549 การเปรียบเทียบมาตรฐาน ในปี 2547-2551 และการเปรียบเทียบในท้องถิ่น ในปี 2549-2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกโคลนอ้อยดีเด่นที่มีผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ของเกษตรกรร้อยละ 5 มีความหวานมากกว่า 12 ซีซีเอส มีการไว้ตอได้ดีและปรับตัวได้ดีในสภาพอาศัยน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง จากการประเมินผลผลิตตั้งแต่ปี 2546-2552 พบว่า อ้อยโคลนดีเด่น SRS2000-5-14 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.5 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมใช้ LK92-11 K84-200 และอู่ทอง 3 ร้อยละ 15, 22 และ 23 ตามลำดับ ส่วนความหวานโคลนพันธุ์ SRS2000-5-14 มีค่าความหวานเฉลี่ย 13.69 ซีซีเอส ผลผลิตน้ำตาล 2.47 ตันซีซีเอส/ไร่ นอกจากนี้ ยังพบว่า อ้อยโคลน SRS2000-5-14 ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิคั้นเป็นน้ำอ้อยสดได้ มีรสชาดดี สีสวย กลิ่นหอม ใช้เป็นอ้อยเคี้ยว หรือนำไปทำอ้อยงบได้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=04.pdf&id=631&keeptrack=15 |
สาขาการวิจัย |
|
อ้อยเอนกประสงค์โคลนพันธุ์ SRS2000-5-14 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.