ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาวิธีทางเขตกรรมที่ช่วยให้อ้อยทนแล้ง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นุชจรินทร์ พึ่งพา
เจ้าของผลงานร่วม อรรถสิทธิ์ บุญธรรม
คำสำคัญ จอบหมุน;ริปเปอร์;การพรวนดิน
หน่วยงาน บริษัท ไทยรุ่งเรืองวิจัยและพัฒนา จำกัด
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาวิธีทางเขตกรรมที่ช่วยให้อ้อยทนแล้งประกอบด้วย 4 กรรมวิธีคือ 1) ไถริปเปอร์และมีการพรวนดินปิดความชื้นด้วยจอบหมุน 2) พรวนดินปิดความชื้นด้วยจอบหมุน 3) ปลูกถั่วพร้า 4) ไม่มีการไถริปเปอร์และไม่มีการ พรวนดินปิดความชื้นเป็นวิธีการตรวจสอบ ผลการทดลองพบว่า การไถริปเปอร์ระหว่างร่องอ้อยเป็นการนำความชื้น จากดินชั้นล่างให้ขึ้นมาเป็นประโยชน์กับบริเวณรากอ้อย ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้กรรมวิธีที่ 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่ากรรมวิธีอื่นคือ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 17.94 ตัน/ไร่ รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 2 (16.61 ตัน/ไร่) และกรรมวิธีที่ 3 (15.46 ตัน/ไร่) ส่วนอ้อยที่ไม่มีการไถริปเปอร์และไม่มีการพรวนดินปิดความชื้นให้ผลผลิตเพียง 11.07 ตัน/ไร่ ด้านคุณภาพความหวานของอ้อย พบว่า อ้อยในทุกกรรมวิธีมีความหวานไม่แตกต่างกันโดยมีค่าความหวานอยู่ระหว่าง 12-13 CCS เมื่อพิจารณาทางด้านผลผลิตน้ำตาลพบว่า การไถริปเปอร์และมีการพรวนดินปิดความชื้นด้วยจอบหมุนให้น้ำตาลสูงกว่ากรรมวิธีอื่นคือ 2.49 ตัน CCS/ไร่ อันเป็นผลมาจากการไถริปเปอร์ช่วยให้ความชื้นในดินชั้นล่างเป็นประโยชน์กับอ้อยในช่วงแล้ง และช่วงที่ฝนตกน้ำซึมลงไปสะสมที่ดินชั้นล่างได้ง่าย ส่วนการพรวนดินปิดความชื้นช่วยรักษาความชื้นของดินชั้นล่างให้คงอยู่
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=133.pdf&id=640&keeptrack=22
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การศึกษาวิธีทางเขตกรรมที่ช่วยให้อ้อยทนแล้ง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง