ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบวิธีการเตรียมดินที่เหมาะสมในการปลูกอ้อยข้ามแล้ง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง อรรถสิทธิ์ บุญธรรม
เจ้าของผลงานร่วม วาสนา วันดี , ผุด จันทร์สุขโข
คำสำคัญ วิธีการเตรียมดิน;การไถพรวน;หยอดน้ำตามรอยที่ไถพรวน;ลดการไถพรวน
หน่วยงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การเปรียบเทียบวิธีการเตรียมดินที่เหมาะสมในการปลูกอ้อยข้ามแล้ง 4 วิธีการคือ 1) ไถพรวน ยกร่อง ใช้แรงงานคนปลูกอ้อยและให้น้ำราดร่องตามหลังปลูก 2) ไถ พรวน ใช้เครื่องปลูกหยอดน้ำ 3) ใช้ Ripper ร่วมกับจอบหมุนพรวนดินเฉพาะแนวที่จะปลูกอ้อยและใช้เครื่องปลูกอ้อยพร้อมหยอดน้ำตามรอย ที่ไถพรวน 4) การปลูกอ้อยแบบลดการไถพรวนโดยใช้ผาลจักร Ripper และจอบหมุนไถพรวนระหว่างแถวอ้อยตอแล้วใช้เครื่องปลูกหยอดน้ำตามแนวที่ไถพรวน (Minimum tillage) ผลการทดลองพบว่า อ้อยที่ใช้แรงงานคนปลูกแล้วให้น้ำตาม (กรรมวิธีที่ 1) มีจำนวนหน่อต่อพื้นที่มากกว่าอ้อยที่ใช้เครื่องปลูก (กรรมวิธีที่ 2, 3 และ 4) แต่หลังปลูกอ้อย 3 เดือน อ้อยทั้ง 4 กรรมวิธี มีจำนวนหน่อต่อพื้นที่ไม่แตกต่างกัน และเมื่อกระทบแล้งอ้อยที่ใช้เครื่องปลูกจะทนแล้งได้ดีกว่าการใช้แรงงานคนปลูก ซึ่งดูได้จากอาการขาดน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนคือ อ้อยที่ใช้เครื่องปลูกมีลำและใบอ้อยยังเขียวสดเมื่อเปรียบเทียบกับอ้อยที่ใช้คนปลูกใบอ้อยจะเหลืองชี้ตั้ง เมื่อเก็บเกี่ยวพบว่า การเตรียมดินปลูกอ้อย 4 วิธีการให้ผลผลิตแตกต่าง อ้อยที่เตรียมดินโดยใช้ Ripper ร่วมกับจอบหมุนพรวนดินเฉพาะแนวที่จะปลูกอ้อยและใช้เครื่องปลูกอ้อยพร้อมหยอดน้ำตามรอยที่ ไถพรวน ให้ผลผลิตสูงสุดคือ 12.78 ตัน/ไร่ โดยการไถพรวนและใช้เครื่องปลูกอ้อย รองลงมาคือ อ้อยที่เตรียมดิน ปลูกอ้อยโดยการไถพรวนและใช้เครื่องปลูกหยอดน้ำ ให้ผลผลิต 12.39 ตัน/ไร่ ทั้ง 2 วิธีการให้ผลผลิตสูงกว่าอ้อย ที่ปลูกโดยการไถพรวนยกร่อง ใช้แรงงานคนปลูกให้ผลผลิตต่ำสุดคือ 10.24 ตัน/ไร่ และอ้อยที่เตรียมดินปลูกอ้อย โดยลดการไถพรวนมีค่าใช้จ่ายต่ำสุดคือ 600 บาท/ไร่ ในขณะที่การเตรียมดินโดยวิธีอื่นมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท/ไร่ ส่วนในด้านคุณภาพความหวานพบว่า อ้อยที่ปลูกโดยการเตรียมดินทั้ง 4 วิธีมีค่า C.C.S ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อคำนวณเป็นน้ำตาลพบว่า การเตรียมดินปลูกอ้อยแบบ Stripe tillage ให้น้ำตาลสูงสุดคือ 1.72 ตัน C.C.S ต่อไร่ รองมาคือ อ้อยที่เตรียมดินปลูกอ้อยโดยการไถพรวน และใช้เครื่องปลูกหยอดน้ำให้น้ำตาล 1.69 ตัน C.C.S/ไร่
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=143.pdf&id=641&keeptrack=9
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การเปรียบเทียบวิธีการเตรียมดินที่เหมาะสมในการปลูกอ้อยข้ามแล้ง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง