- ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์
- 285 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | โครงสร้างเนื้อหาในประกาศการพระราชพิธีสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดวงกมล ธงชมเชย |
คำสำคัญ | ประกาศการพระราชพิธี;โครงสร้างเนื้อหา;วรรณกรรมสมัยอยุธยา;วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ |
หน่วยงาน | สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาโครงสร้างเนื้อหาในประกาศการพระราชพิธีสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์พบว่า ประกาศการพระราชพิธีทั้งสองสมัย มีโครงสร้างเนื้อหาหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนประณามพจน์ ส่วนเนื้อหา และส่วนปัจฉิมบท โครงสร้างย่อยของประกาศการพระราชพิธีสมัยอยุธยาอย่างโองการแช่งน้ำเป็นต้นแบบในการสร้างโครงสร้างย่อยในส่วนเนื้อหาของประกาศการพระราชพิธีในยุคหลัง โองการแช่งน้ำมีโครงสร้างย่อยจำนวน 6 โครงสร้าง ได้แก่ สดุดีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตำนาน เรื่องพระราชพิธีเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องพระมหากษัตริย์ ขอพร ประกาศการพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์ได้นำโครงสร้างย่อยของโองการแช่งน้ำ มาปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม 2 โครงสร้างย่อย ได้แก่ เรื่องประวัติศาสตร์และชื่อเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ ผู้วิจัยพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเนื้อหามี 3 ประการได้แก่ การใช้ประกาศการพระราชพิธีในพระราชพิธีที่ต่างจากตัวต้นเค้า อิทธิพลด้านศาสนา และสถานภาพของพระมหากษัตริย์ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/104_5.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
โครงสร้างเนื้อหาในประกาศการพระราชพิธีสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.