ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง บทบาทของวรรณกรรมที่มีต่อตัวละครเอกในนวนิยายและภาพยนตร์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สุพิชชา วิมลโสภารัตน์
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ วรรณกรรม;ภาพยนตร์;นวนิยาย;ตัวละครเอก
หน่วยงาน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาและวิเคราะห์บทบาทของวรรณกรรมที่มีต่อตัวละครเอกซึ่งมีชีวิตอยู่ในเรื่องเล่าทั้งในนวนิยายและภาพยนตร์ ดังนี้ สุภาพบุรุษจำแลง, ฟาเรนไฮต์ 451 เผาหนังสือให้หมดโลก, มาทิลดา นักอ่านสุดวิเศษ, ชายชราผู้อ่านนิยายรัก, เดอะ รีดเดอร์, หัวใจน้ำหมีก และจอมโจรหนังสือ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาผ่านแนวคิดพลังของวรรณกรรม องค์ประกอบของการเล่าเรื่อง และการดัดแปลงสื่อ พบว่า บทบาทของวรรณกรรมที่มีต่อตัวละครเอกในนวนิยายและภาพยนตร์ คือ ความสามารถในการสร้างความรื่นรมย์และจินตนาการ, ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากความไม่รู้เป็นความรู้ และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร การเล่าเรื่องในนวนิยายและภาพยนตร์แบ่งได้ดังนี้ วรรณกรรมเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เกิดเรื่อง วรรณกรรมมีส่วนในการดำเนินเรื่องโดยวรรณกรรมเปรียบเทียบเสมือนตัวละครตัวหนึ่งที่ฉุดดึงและเชื่อมร้อยเหตุการณ์ตลอดเรื่อง และวรรณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง ซึ่งปรากฏภาพของการอ่านและคลุกคลีกับหนังสือของตัวละครเอก แต่วรรณกรรมไม่ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อตัวเรื่องโดยตรง
ข้อมูลเพิ่มเติม http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/43207/1/5584705528.pdf
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


บทบาทของวรรณกรรมที่มีต่อตัวละครเอกในนวนิยายและภาพยนตร์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.