ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง คุณค่าทางโภชนะและการย่อยได้ของเปลือกกล้วยน้ำว้า (Musa sapieutum L.)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สุญาณี แสนเศษ
เจ้าของผลงานร่วม ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ , สมปอง สรวมศิริ , สกล ไข่คำ
คำสำคัญ เปลือกกล้วย;แพะ;การย่อยได้;ยูเรีย;กากน้ำตาล
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาปรับปรุงคุณค่าทางอาหารและการย่อยได้ของเปลือกกล้วยน้ำว้า โดยศึกษาการย่อยได้ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 คือ กากน้ำตาล 3 ระดับ (0, 2.5, 5 %) ปัจจัยที่ 2 คือ ยูเรีย 3 ระดับ (0, 3, 6 %) ปัจจัยที่ 3 คือ ระยะเวลาการหมัก (7, 14, 21, 28 วัน) ผลการทดลองพบว่า สูตรที่มีค่าการย่อยได้สูงคือ สูตรใช้ยูเรีย 3% ร่วมกับ กากน้ำตาล 2.5 หรือ 5% และสูตรยูเรีย 6% ร่วมกับกากน้ำตาล 5% หมักนาน 28 วัน จากนั้นนำไปศึกษาปริมาณการกินได้และการย่อยได้ในแพะลูกผสมพันธุ์ซาแนน เพศเมีย อายุ 3-8 เดือน จำนวน 12 ตัว สุ่มแพะตามกลุ่มการทดลอง 4 กลุ่มคือ ฟางหมัก ยูเรีย 6% นาน 21 วัน (T1) และเปลือกกล้วยหมักยูเรีย 3% กับกากน้ำตาล 2.5% (T2) หรือหมัก ยูเรีย 3% กับกากน้ำตาล 5% (T3) หรือหมักยูเรีย 6% กับกากน้ำตาล 5% (T4) พบว่า กลุ่ม T1 มีปริมาณการกินได้ในรูปของวัตถุแห้งและพลังงานย่อยได้สูงกว่า T2, T3 และ T4 ในขณะที่กลุ่ม T4 มีปริมาณการกินอาหารในรูปของโปรตีนย่อยได้และพลังงานย่อยได้ต่ำที่สุด สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ พลังงาน NDF และ ADF ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่ม T2 ที่มีสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโปรตีนมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=117.pdf&id=784&keeptrack=979
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


คุณค่าทางโภชนะและการย่อยได้ของเปลือกกล้วยน้ำว้า (Musa sapieutum L.) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง