ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง กลวิธีทางภาษาและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการแสดงความไม่พอใจ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ กลวิธีทางภาษา;การแสดงความไม่พอใจ;ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ;ภาษากับวัฒนธรรม;วัจนปฏิบัติศาสตร์แนวปลดปล่อย
หน่วยงาน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้แสดงความไม่พอใจ และข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึง โดยใช้แบบสอบถามผู้พูดภาษาไทยที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี และการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบลดน้ำหนักความรุนแรงในการแสดงความไม่พอใจมากกว่ากลวิธีทางภาษาแบบตรงไปตรงมา ส่วนข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการใช้กลวิธีทางภาษาในการแสดงความไม่พอใจคือ ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์ของการสนทนา และข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในส่วนที่เป็นปริบทของการสนทนา โดยการรักษาความสัมพันธ์ของคู่สนทนาเป็นข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงมากที่สุดในการใช้กลวิธีทางภาษาในการแสดงความไม่พอใจ พฤติกรรมทางภาษาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม ได้แก่ การมีมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา (an interdependent view of self), ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม (collectivism) และความเป็นวัฒนธรรมปริบทสูง (High context culture )
ข้อมูลเพิ่มเติม http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx?ArticleID=1882
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


กลวิธีทางภาษาและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการแสดงความไม่พอใจ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.