ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | วิเคราะห์การคุ้มครองทางสังคมของไทยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ANALYSIS OF SOCIAL PROTECTION IN THAILAND ACCORDING TO SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สมพร โกมารทัต |
เจ้าของผลงานร่วม | เสน่ห์ เดชะวงศ์ , ศิริพร สัจจานันท์ |
คำสำคัญ | การคุ้มครองทางสังคม;การพัฒนาอย่างยั่งยืน;ความยากจนในประเทศไทย |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาสถานะปัจจุบันของการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทยและวิเคราะห์ช่องว่างการวิจัยและช่องว่างการคุ้มครองทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ พบว่า 1) การคุ้มครองทางสังคมในประเทศไทย ประกอบด้วย หลักการประกันซึ่งแบ่งออกเป็น การประกันสังคม และการประกันสุขภาพ การคุ้มครองแรงงาน การประชาสงเคราะห์ และการบริการสังคมอื่นๆ ประชากรไทยร้อยละ 21.27 ของประชากรทั้งประเทศ (67.2 ล้านคน) ได้รับการคุ้มครองทางสังคมโดยการประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 7,671 ล้านบาท ในการเสริมสร้างสวัสดิการสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีได้รับการคุ้มครองและบริการสวัสดิการตามสิทธิขั้นพื้นฐาน 2) ผลการวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสภาพปัจจุบันของไทย พบว่า มีการคุ้มครองทางสังคมของกลุ่มเด็ก กลุ่มแรงงานกรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มคนยากจนและเปราะบางตามเป้าประสงค์และตัวชี้วัด แต่ในกลุ่มหญิงมีครรภ์ที่เป็นแรงงานนอกระบบยังไม่มีมาตรการคุ้มครอง และผู้สูงอายุที่ไม่ทำงาน แม้ว่ารัฐบาลจะจัดสรรเบี้ยยังชีพให้จำนวนหนึ่ง แต่ก็ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต รัฐบาลควรมีนโยบายการเพิ่มเบี้ยยังชีพหรือมีมาตราการอื่นที่เหมาะสม |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/vnd5ppgmbr408ckoo.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
วิเคราะห์การคุ้มครองทางสังคมของไทยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ANALYSIS OF SOCIAL PROTECTION IN THAILAND ACCORDING TO SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.