ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
THE POTENTIAL OF ANTIOXIDANT CONTENTS IN NATIVE MANGO SEED AND GRAPE SEED OF THAILAND |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
THANAPORN THANMARAK |
เจ้าของผลงานร่วม |
RUNGJARAT HUTACHAROEN, CHUMLONG ARUNLERTAREE, Ph.D., RAYWADEE ROACHANAKANAN, Ph.D., SARANYA SUCHARITAKUL, Ph.D |
คำสำคัญ |
MANGO SEED KERNEL / GRAPE SEED / ANTIOXIDANT ACTIVITY / PHENOLIC COMPOUNDS / WASTE UTILIZATION |
หน่วยงาน |
นางสาวธนพร ธรรมารักษ์ 83/2 ซ.รัชดาภิเษก23 ถนนรัชดาภิเษก แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กทม. 10600 |
ปีที่เผยแพร่ |
2558 |
คำอธิบาย |
เนื้อในเมล็ดมะม่วง ได้แก่ แก้ว มหาชนก และเขียวมรกต และเมล็ดองุ่นสายพันธุ์แบล็คควีน สกัดโดยใช้ เอทานอล 95% เหล้าขาว น้ำ และน้ำร้อน ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างที่สกัดโดยเหล้าขาวมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด และมีปริมาณสารประกอบฟินอลิก (TPC) มากที่สุด รองลงมาคือตัวอย่างที่สกัดโดย เอทานอล 95% น้ำ และน้ำร้อน
ส่วนสารสกัดของเนื้อในเมล็ดมะม่วงสายพันธุ์แก้ว พบว่ามีฤทธิ์การต้านออกซิเดชั่นมากกว่าสายพันธุ์เขียวมรกต และมหาชนก ตามลำดับ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสายพันธุ์แบล็คควีน พบว่ามีฤทธิ์การต้านออกซิเดชั่นน้อยกว่า
ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถช่วยยืนยันได้ว่าเนื้อในเมล็ดมะม่วงจากของเสียทางการเกษตรมีศักยภาพในการเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ และเหล้าขาวสามารถใช้เป็นตัวทำละลายในการสกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
สาขาการวิจัย |
|