ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ชนชั้นกลางกับการสื่อสารรสนิยมในการบริโภคส้มตำ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พจมาลย์ พุดมี
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ รสนิยม
หน่วยงาน สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การวิเคราะห์กระบวนการจัดเตรียม และกระบวนการบริโภค โดยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการสัมภาษณ์ พบว่า องค์ประกอบในกระบวนการจัดเตรียมส้มตำของชนชั้นกลางมีการสื่อสารรสนิยมในการจัดเตรียมส้มตำได้มีการเพิ่ม เสริม เติมแต่ง จากรสนิยมของชนชั้นกลางเข้าไป แต่จะมีเพียงบางองค์ประกอบที่ยังคงเก็บอัตลักษณ์ของความเป็นส้มตำไว้ได้คือ อุปกรณ์ในการตำส้มตำ และชื่อส้มตำ ด้านกระบวนการบริโภค ชนชั้นกลางมีการสื่อสารรสนิยมในการบริโภคส้มตำใน 5 องค์ประกอบซึ่งจะมีเพียงบางองค์ประกอบที่ชนชั้นกลางใช้สื่อสารออกมาทางรสนิยมคือ รสชาติ ซึ่งเป็นรสชาติที่แฝงไปด้วยความหรูหรา โดยร้านส้มตำบางร้านมีความโน้มเอียงที่มีลักษณะไล่เรียงลำดับ (range) ตั้งแต่ความเป็นอีสานแบบท้องถิ่นไปจนถึงความเป็นอีสานแบบชนชั้นกลาง การบริโภคของชนชั้นกลางก็เป็นไปเพื่อสื่อสาร การเลียนแบบ (imitation) พบว่า ส้มตำที่มีรสนิยมของชนชั้นกลางประดิษฐ์นั้นมีความคล้ายคลึงกับส้มตำอีสานแบบท้องถิ่นอยู่ โดยอยู่ในส่วนผสมที่เป็นเครื่องปรุง ชื่อของส้มตำ ครกกับสาก และเพื่อสื่อสารความแตกต่าง (distinction) พบว่า รสนิยมของชนชั้นกลางต้องการสื่อสารออกไปยังชนชั้นอื่น ๆ ว่า ส้มตำของชนชั้นกลางมีปลาร้าได้เช่นกัน แต่ปลาร้านั้นต้องมีการต้มให้สุก
ข้อมูลเพิ่มเติม http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5407030302_3065_1871.pdf
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


ชนชั้นกลางกับการสื่อสารรสนิยมในการบริโภคส้มตำ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง