ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การแปรเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นในจังหวัดแพร่ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วิภาวรรณ ถิ่นจันทร์ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | ระบบวรรณยุกต์;ภาษาไทยถิ่นในจังหวัดแพร่;ภาษาไทยถิ่นเหนือในจังหวัดแพร่;ภาษาไทยลื้อ |
หน่วยงาน | สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาจำนวนเสียงวรรณยุกต์ การแยกเสียง รวมเสียงวรรณยุกต์ และสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์จากการฟัง รวมทั้งใช้โปรแกรมพราท (praat) ในการวิเคราะห์สัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ด้วยวิธีทางกลสัทศาสตร์พบว่า ภาษาไทยถิ่นเหนือในจังหวัดแพร่ ปรากฏการแยกเสียง รวมเสียงวรรณยุกต์ ประกอบด้วย 6 หน่วยเสียง ภาษาไทยถิ่นเหนือในจังหวัดแพร่ยังปรากฏวรรณยุกต์รูปแปรที่เป็นระบบวรรณยุกต์ย่อย เกิดจากปัจจัยทางสังคม การเปรียบเทียบผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นเหนือในจังหวัดแพร่ ยังคงรักษารูปแบบเช่นเดียวกับงานวิจัยในอดีต การเก็บข้อมูลภาคสนามเบื้องต้นพบว่า จังหวัดแพร่มีกลุ่มผู้พูดภาษาไทยลื้อปะปนอยู่ในตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ และตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น การใช้ภาษาที่เหมือนกับภาษาไทยถิ่นเหนือในจังหวัดแพร่ ภาษาไทยลื้อของทั้งสองตำบลดังกล่าว ปรากฏสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นเหนือในจังหวัดแพร่ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5506033017_4359_2628.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การแปรเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นในจังหวัดแพร่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.