ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการการพยากรณ์ข้อมูลทางธุรกิจ เมื่อพบค่านอกเกณฑ์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เฉลิมสิน สิงห์สนอง |
คำสำคัญ | การจัดการ;การพยากรณ์;ข้อมูลธุรกิจ;ค่านอกเกณฑ์;อนุกรมเวลา |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การจัดการข้อมูลธุรกิจและการพยากรณ์ที่เหมาะสมเมื่อมีค่านอกเกณฑ์ การจัดการข้อมูลทางธุรกิจ เป็นการบริหารการจัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการทางธุรกิจ ให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจค่านอกเกณฑ์เป็นค่าของข้อมูลที่ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อมูลค่าอื่นๆ วิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ของประชากร จะไม่สามารถอธิบายคุณลักษณะของประชากรที่มีค่านอกเกณฑ์ปะปนอยู่ได้อย่างครบถ้วน ค่านอกเกณฑ์ส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน ค่านอกเกณฑ์ในข้อมูลอนุกรมเวลาหรือข้อมูลธุรกิจ มีผลกระทบต่อการกำหนดตัวแบบการประมาณค่าพารามิเตอร์และการพยากรณ์ ทำให้มีความผิดพลาดสูง ขาดความน่าเชื่อถือ วิธีการตรวจหาและปรับแก้ไขค่านอกเกณฑ์ คือ วิธีกราฟ วิธีการทำซ้ำ วิธีการตรวจสอบแบบตัดออก และ วิธีการทดสอบโดยใช้ Grubbs’ test วิธีการพยากรณ์ข้อมูลทางธุรกิจเมื่อตรวจพบค่านอกเกณฑ์ คือ วิธีกำลังสองน้อยที่สุด วิธีตัวประมาณภาวะน่าจะเป็นเมื่อปรับปรุงข้อมูล วิธีกำลังสองน้อยที่สุดเมื่อปรับปรุงข้อมูลวิธีกำลังสองน้อยสุดแบบมีเงื่อนไข วิธีประมาณร่วมพารามิเตอร์ตัวแบบและผลกระทบของข้อมูลผิดปกติ วิธีกำลังสองน้อยสุดแบบถ่วงน้ำหนักด้วยบูทสแทร็พ วิธีการพยากรณ์โดยใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบค่าเฉลี่ยเวียนเกิด วิธีการพยากรณ์โดยใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบมัธยฐานเวียนเกิดและวิธีการพยากรณ์โดยใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบมัธยฐานเวียนเกิดปรับปรุง เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีของการวิเคราะห์นั้นแตกต่างกันออกไป ค่านอกเกณฑ์ที่มักพบในข้อมูลอนุกรมเวลาและข้อมูลทางธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ คือ Additive outlier (AO) และ Innovational outlier (IO) |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/17e1gf9naflwcosos.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการการพยากรณ์ข้อมูลทางธุรกิจ เมื่อพบค่านอกเกณฑ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.