ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อย ในดินทรายภาคตะวันออก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วัลลีย์ อมรพล |
เจ้าของผลงานร่วม | พินิจ กัญญาศิลปิน , ศุภกาญจน์ ล้วนมณี , ศรีสุดา ทิพยรักษ์ , กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ |
คำสำคัญ | อ้อย;การจัดการธาตุอาหาร;ดินทราย (ชุดดินสัตหีบ);ภาคตะวันออก;ประสิทธิภาพของปุ๋ยไนโตรเจน |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาการตอบสนองของอ้อยต่อการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในพื้นที่ดินทราย ปัจจัยหลักเป็นการปรับปรุงดินประกอบด้วย 2 วิธีการได้แก่ 1) ไม่ปรับปรุงดิน 2) ใช้โดโลไมท์ 100 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยหมักกากตะกอนหม้อกรองอ้อย 1,000 กก./ไร่ ปัจจัยรองคือ พันธุ์อ้อย 2 พันธุ์ได้แก่ 1) พันธุ์ LK92-11 2) พันธุ์ขอนแก่น 3 และปัจจัยย่อยเป็นอัตราปุ๋ย 4 ระดับได้แก่ 1) 0-6-18 2) 9-6-18 3)18-6-18 และ 4) 27-6-18 กิโลกรัม N-P2 O5 -K2O ต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การปรับปรุงดิน การใช้พันธุ์ และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ให้ผลผลิตอ้อยแตกต่างกัน การไม่ปรับปรุงดินให้ผลผลิตเฉลี่ย 12.27 ตัน/ไร่ แต่การปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ร่วมกับปุ๋ยหมักกากตะกอนหม้อกรองอ้อย ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 13.97 ตัน/ไร่ โดยการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 14.11 ตัน/ไร่ ขณะที่พันธุ์ LK92-11 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 12.13 ตัน/ไร่ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อยอย่างชัดเจนคือ อ้อยมีการแตกกอให้จำนวนลำต่อไร่ ความสูงของลำ และผลผลิตสูงสุดที่ระดับปุ๋ยไนโตรเจน 27 กก.N/ไร่ อ้อยทั้ง 2 พันธุ์มีการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมแตกต่างกัน และอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน เพื่อสร้างผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ LK92-11 การปลูกอ้อยพันธุ์ LK92-11 โดยไม่ปรับปรุงดินในดินทราย ควรใส่ปุ๋ยในโตรเจนที่ระดับ 9 กก.N/ไร่ และพันธุ์ขอนแก่น 3 ในที่ระดับ 27 กก.N/ไร่ ขณะที่มีการปรับปรุงดิน การปลูกอ้อยทั้ง 2 พันธุ์ ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่ระดับ 9 กก.N/ไร่ ซึ่งให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=183.pdf&id=645&keeptrack=14 |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อย ในดินทรายภาคตะวันออก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.