ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การใช้ประโยชน์ของพืชวงศ์ขิงในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นางสาวลลิตา คำแท่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล แสนสุข
เจ้าของผลงานร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร แสนสุข, ดร.สุดารัตน์ ถนนแก้ว
คำสำคัญ พืชวงศ์ขิง, การใช้ประโยชน์, อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
หน่วยงาน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่เผยแพร่ 2558
คำอธิบาย จากการศึกษาความหลากชนิดของพืชวงศ์ขิงในอุทยานแห่งชาติภูแลนคาระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2556 พบจำนวน 3 เผ่า 8 สกุล และ 16 ชนิด ซึ่งมี 14 ชนิดที่นำมาใช้ประโยชน์โดยนำมาประกอบอาหารและเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ได้แก่ Alpinia galanga (L.) Willd., Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. และ Kaempferia sp. นำเหง้าสดมารับประทานกับน้ำพริก Kaempferia sp. และ K. marginata Carey ex Roscoe ใช้ใบอ่อนสดหรือลวกรับประทานกับน้ำพริก และใช้ใบทำเป็นห่อหมก เช่น หมกหน่อไม้ หมกปลา หมกเห็ด เป็นต้น A. galanga (L.) Willd., A. zerumbet (Pers.) B.L.Burtt & R.M.Sm., Curcuma angustifolia Roxb., C. parviflora Wall., C. singularis Gagnep. และ Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. นำช่อดอกมาต้มหรือลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนชนิดที่ใช้เป็นไม้ประดับ ได้แก่ Curcuma alismatifolia Gagnep., C. harmandii Gagnep., C. parviflora Wall., Globba schomburgkii Hook.f., Globba sp. และ K. rotunda L. ในเรื่องของความเชื่อพบว่าการปลูกต้น K. rotunda L. ไว้ในบ้านเพื่อปกป้องคุ้มครองคนในบ้านให้ปราศจากสิ่งชั่วร้าย การศึกษาอนุกรมวิธานพืชวงศ์ขิงเพื่อให้ทราบชื่อวิทยาศาสตร์และสถานภาพพืชเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์พืชวงศ์ขิงในพื้นที่ธรรมชาติได้
ข้อมูลเพิ่มเติม -
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การใช้ประโยชน์ของพืชวงศ์ขิงในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง