- วิศิษฎ์ ศุภางคะรัตน์
- 1534 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | อัตลักษณ์ศิลปะสร้างสรรค์งานใบตอง สู่การออกแบบชุดสำหรับสตรีในสมัยนิยม |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ณัฐธิกานต์ ปิ่นจุไร |
เจ้าของผลงานร่วม | พจน์ธรรม ณรงวิทย์ , ชัญญาพัทธ์ ปัจฉิมพาณิชย์ , ชัญญา อุดมประมวล |
คำสำคัญ | งานใบตอง;ชุดสุภาพสตรี;สมัยนิยม |
หน่วยงาน | โปรแกรมเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาและจำแนกรูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะสร้างสรรค์งานใบตอง และสร้างสรรค์อัตลักษณ์ศิลปะงานใบตอง สู่การออกแบบชุดสตรีในสมัยนิยม พบว่า ประเภทของศิลปะสร้างสรรค์งานใบตอง มีมากหลากหลายประเภท หลากหลายการใช้งาน จากการสัมภาษณ์พบว่า รูปแบบของงานศิลปะงานใบตองที่เหมาะสม ประยุกต์ใช้ในการออกแบบชุดสำหรับสุภาพสตรี คือ แบบการพับหักคอม้า, การพับกลีบพลีท, การพับกลีบพัด, การพับกลีบผกาซ้อน ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้และง่ายต่อการสร้างสรรค์งานออกแบบเสื้อผ้า เนื่องจากเป็นกระบวนการพับ ม้วน เย็บ สาน ที่ไม่ซับซ้อนมาก และข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มตัดเย็บ และกลุ่มผู้จัดจำหน่าย พบว่า รูปแบบชุดสุภาพสตรีที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานผ้าด้วยศิลปะงานใบตอง ควรเป็นชุดลำลอง ชุดเดรส และชุดราตรียาว รูปแบบชุดควรมีรูปแบบของชุดลำลองเพื่อเป็นทางเลือกให้ง่ายต่อการผลิต และการใช้ชุดกระโปรง และชุดราตรี เป็นรูปแบบของชุดที่สามารถใช้รายละเอียดความสวยงาม โดยใช้แรงบันดาลใจจากงานศิลปะสร้างสรรค์งานใบตองได้มากกว่าชุดปกติ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/19222019-03-15.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
อัตลักษณ์ศิลปะสร้างสรรค์งานใบตอง สู่การออกแบบชุดสำหรับสตรีในสมัยนิยม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.