ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ขนาดชิ้นส่วนและชนิดวัสดุปักชำที่มีผลต่อการชำต้นสับปะรด ‘MD2’
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ศรันยา คุ้มปลี
เจ้าของผลงานร่วม ภาสันต์ ศารทูลทัต
คำสำคัญ Ananas comosus L.;การขยายพันธุ์พืช;เหง้า;หน่อปลูก
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาผลของขนาดชิ้นส่วนตัดชำและชนิดวัสดุชำที่มีต่อการเกิดหน่อใหม่ โดยนำต้นสับปะรดหลังเก็บผลแล้วมาตัดเป็นชิ้นขนาดใหญ่ (151-200 กรัม), กลาง (101-150 กรัม) และเล็ก (50-100 กรัม) ปักชำแนวตั้งในวัสดุชำ ได้แก่ ทราย ทราย:ขุยมะพร้าว (1:1 โดยปริมาตร) ทราย:ถ่านแกลบ (1:1) และทราย:ขุยมะพร้าว:ถ่านแกลบ (1:1:1) ในกระบะปักชำ พบว่าสี่สัปดาห์หลังชำ ชิ้นส่วนขนาดใหญ่ กลาง เล็ก มีหน่อเกิดใหม่ เฉลี่ย 6.3, 3.6 และ 2.2 หน่อ/ชิ้น ซึ่งแตกต่างกัน วัสดุปักชำทั้งสี่สูตรมีจำนวนหน่อใหม่ไม่แตกต่างกันและมีค่าเฉลี่ย 3-4 หน่อ/ชิ้น แต่วัสดุชำทรายหรือทราย:ขุย-มะพร้าว มีแนวโน้มให้หน่อใหม่มากสุด อาจเนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของวัสดุชำที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าการตัดชำลำต้นสับปะรด ‘MD2’ ควรใช้ชิ้นส่วนที่มีขนาดตั้งแต่ 150 กรัมขึ้นไป และชำในวัสดุทราย หรือทราย:ขุยมะพร้าว
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=18-97-100.pdf&id=1057&keeptrack=13
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ขนาดชิ้นส่วนและชนิดวัสดุปักชำที่มีผลต่อการชำต้นสับปะรด ‘MD2’ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง