ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาการผลิตโลหะผสมเหล็กซิลิกอนโดยใช้แกลบข้าวและเปลือก ยางพาราที่อุณหภูมิ 1550 องศาเซลเซียส: การวิจัยเพื่อใช้ปการศึกษาการผลิตโลหะผสมเหล็กซิลิกอนโดยใช้แกลบข้าวและเปลือก ยางพาราที่อุณหภูมิ 1550 องศาเซลเซียส: การวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ขยะทาง การเกษตรในอุตสา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | มีกรุณา บุญยรัศมิ์จินดา |
คำสำคัญ | แกลบข้าว ขี้เส้นยางพารา เปลือกยางพารา ขยะอุตสาหกรรมเกษตร เหล็กซิลิกอน |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | แกลบข้าวเป็นหนึ่งในขยะจากภาคการเกษตรที่ถูกผลิตออกมาเป็นจานวนมากในแต่ละปี โดยเถ้าแกลบมีซิลิกาเป็นองค์ประกอบหลักมากกว่าร้อยละ 90 เปลือกยางพารา (ขี้เส้นยางพารา) เป็นขยะจากภาคการเกษตรที่เกิดจากการเก็บน้ายางด้วยวิธีกรีดเปลือกยาง การกรีดยางแต่ละครั้งจะได้เปลือกยางที่มีลักษณะเป็นเส้นและมีส่วนของเนื้อยางพาราและส่วนของเปลือกไม้ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเหล็กผสมซิลิกอนโดยการใช้ขยะจากภาคการเกษตรคือแกลบข้าวและเปลือกยางพารา เพื่อเป็นแหล่งให้ซิลิกาและคาร์บอน ตามลาดับ โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้วัสดุคาร์บอนที่ต่างกัน (ATC ATC-RTB blends และ RTB) มาผสมกับเหล็กออกไซด์และเถ้าแกลบให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันในอัตราส่วนเฉพาะ นาตัวอย่างที่ได้มาให้ความร้อนในเตาท่อแนวนอนที่อุณหภูมิ 1550 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศอาร์กอนเป็นเวลา 30 นาที จะได้ ผลิตภัณฑ์เป็นเม็ดเหล็ก ลักษณะกลม นาเม็ดเหล็กที่ได้มาทดสอบหาปริมาณของซิลิกอนโดยใช้เทคนิค Inductive coupled plasma (ICP) ผลการวิเคราะห์พบปริมาณซิลิกอนในเม็ดเหล็กที่ใช้ 10-50% RTB-ATC blends และ RTB เป็นตัวทาปฏิกิริยามีค่าประมาณ 45 wt% ในขณะปริมาณซิลิกอนในเหล็กมีค่า 18.25 wt% ในกรณีที่ใช้ ATC เป็นตัวทาปฏิกิริยา งานวิจัยนี้เป็นแนวทางการใช้วัสดุเหลือทิ้งภาคการเกษตรในกระบวนการผลิตโลหะและลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นอุตสาหกรรมการผลิตโลหะแบบยั่งยืน |
สาขาการวิจัย |
|