ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การทดสอบประสิทธิภาพของมูลสัตว์ในการย่อยสลายอาทราซีน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เชษฐ์ชัชชัยย์ นิลาภรณ์
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.ดร.จำเนียร ชมภู , รศ.ดร.ทศพล พรพรหม , อ.ดร.วนิดา สืบสายพรหม , ผศ.ดร.อรวรรณ ชุณหชาติ
คำสำคัญ มูลสัตว์;อาทราซีน;ดีไอโซโพรพิลอาทราซีน;จุลินทรีย์
หน่วยงาน ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การใส่มูลม้าและมูลนกแอ่นกินรังสามารถช่วยแก้ปัญหาการตกค้างของสาร atrazine ในดินพื้นที่การเกษตรได้ โดยจะสามารถทำให้สาร atrazine ถูกย่อยสลายได้เร็วขึ้นกว่าการย่อยสลายตามธรรมชาติ นอกจากนี้การใส่มูลสัตว์จะมีผลทำให้ค่าการนำไฟฟ้าของดินลดลง ซึ่งจากการจำแนกเชื้อแบคทีเรียในอาหารคัดเลือก atrazine-selective medium พบ Pseudomonas aeruginosa ในมูลโค มูลกระบือ มูลม้า มูลสุกร และมูลไก่ โดยที่มูลนกแอ่นกินรัง พบ Ochrobactrum anthropi, Achromobacter denitrificans และ Klebsiella pneumonia ซึ่งเป็นแบคทีเรียน Gram-native ที่พบรายงานว่า สามารถย่อยสลายสารกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อม
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การทดสอบประสิทธิภาพของมูลสัตว์ในการย่อยสลายอาทราซีน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง