ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาเส้นใยของต้นจากเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง จรรยาวรรณ จรรยาธรรม
คำสำคัญ เส้นใยพืช;การออกแบบ;งานหัตถกรรม
หน่วยงาน สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การใช้ประโยชน์ของต้นจาก และพัฒนากระบวนการผลิตงานหัตถกรรมจากเส้นใย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม พบว่า ส่วนของต้นจากที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แก่ ส่วนของใบ ก้านใบ โคนก้านใบ ก้านช่อดอก ก้านช่อผล ดอก และ ผล ส่วนของโคนก้านใบต้นจากมีเส้นใยที่สามารถนำมาแปรรูปด้วยการฟั่นเป็นเส้นเชือกและนำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุในงานหัตถกรรมถัก ทอ และสานได้ ในการพัฒนาคุณภาพของเส้นใยจากได้ทดลองนำเส้นใยจากไปผสมเส้นใยพืชอื่น ได้แก่ ป่านศรนารายณ์ ผักตบชวา กก และกล้วย อัตราส่วนที่ต่างกัน ทดสอบค่าการรับแรงดึงสูงสุด พบว่า เส้นใยจากผสมกับเส้นใยป่านศรนารายณ์อัตราส่วน 50:50 มีค่าการรับแรงดึงสูงสุด เส้นใยจากผสมเส้นใยกล้วยอัตราส่วน 75:25 และเส้นใยจากผสมเส้นใยกกอัตราส่วน 75:25 มีค่าการรับแรงดึงสูงรองลงมา ตามลำดับ เหมาะกับการทำผลิตภัณฑ์ที่รับน้ำหนักมากได้ การนำเส้นใยมาพัฒนาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้แก่ การขึ้นรูปทรงอิสระ การทอเป็นแผ่น และการขึ้นรูปทรงด้วยแบบพิมพ์หรือโครง การประเมินความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์จากเส้นใยจากใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์และความเหมาะสมในการใช้งาน ขนาดของผลิตภัณฑ์เหมาะต่อการใช้งาน ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม มีความเป็นไปได้ในการผลิต มีความพึงพอใจกับผลิตภัณฑ์จากเส้นใยจาก และมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยประเมินจากผลิตภัณฑ์เส้นใยจาก 12 ชนิด พบว่า ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยจากทั้ง 12 ชนิด มีความเหมาะสมในระดับมากในทุกด้าน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://archmis.arch.nu.ac.th/arch_ajnu/journal/article_file/article_2012_39.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การพัฒนาเส้นใยของต้นจากเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง