- พิมพา หิรัญกิตติ
- 212 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ห่วงโซ่อุปทานเครื่องแกงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เตชธรรม สังข์ศร |
คำสำคัญ | ห่วงโซ่อุปทาน;เครื่องแกง;วิสาหกิจชุมชน |
หน่วยงาน | สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาห่วงโซ่อุปทานเครื่องแกงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้าในกระบวนการผลิตต้นทุนผลตอบแทน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ผลิตเครื่องแกงจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ อยุ่ระหว่าง 11-20 ปี มีสมาชิกกลุ่มประมาณ 20 คน ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกในกิจการเฉลี่ยรายละ 197,130 บาท ในการดำเนินธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ผลิตเครื่องแกงจำหน่ายเพื่อจำหน่าย 3 ชนิด โดยผลิตเครื่องแกงคั่วมากที่สุด ปริมาณ 750 กิโลกรัมต่อเดือน รองลงมา คือเครื่องแกงส้ม ปริมาณ 450 กิโลกรัมต่อเดือน และเครื่องแกงเขียวหวาน ปริมาณ 300 กิโลกรัมต่อเดือน วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นวัตถุดิบที่เลือกซื้อจากชุมชนก่อน หากไม่เพียงพอจึงจะเลือกซื้อจากตลาดค้าส่งในตัวเมือง ด้านต้นทุนการผลิต เครื่องแกงส้มมีต้นทุนสูงที่สุด รองลงมาคือ เครื่องแกงเขียวหวาน และเครื่องแกงคั่วตามลำดับ การกำหนดราคาเครื่องแกง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลือกกำหนดราคาจำหน่ายเท่ากันในทุกชนิดเครื่องแกงโดยจำหน่ายในราคาปลีก 120 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายในราคาส่ง 100 บาทต่อกิโลกรัม จึงทำให้เกิดการขาดทุนจากการจำหน่ายเครื่องแกงส้มในราคาส่ง 1.04 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนวิถีการตลาดเครื่องแกงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร้อยละ 90 เป็นการจำหน่ายปลีก โดยสมาชิกในกลุ่มจะเป็นผู้นำไปจำหน่ายเองในตลาดชุมชนได้แก่ ตลาดนัด ตลาดเทศบาล โรงเรียน โรงแรม และงานแสดงสินค้า ส่วนการจำหน่ายส่งจะมีพ่อค้าคนกลางรับจำหน่ายในตลาดให้กับผู้บริโภคต่อไป |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.journal.rmutt.ac.th/index.php/business/article/view/615 |
สาขาการวิจัย |
|
ห่วงโซ่อุปทานเครื่องแกงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.