ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | สมบัติกายภาพของเส้นใยผักตบชวา สำหรับการปั่นเส้นด้าย Q.E. ผสมเส้นใยผักตบชวาและฝ้าย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จิรชยา บุญญฤทธิ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | วุฒินันท์ คงทัด , สุธีรา วิทยากาญจน์ , ชนาพร งามโรจน์ , รังสิมา ชลคุป |
คำสำคัญ | สมบัติกายภาพของเส้นใย;ผักตบชวา;เส้นใยผักตบชวาและฝ้าย |
หน่วยงาน | สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาองค์ประกอบของลำต้นและเส้นใยผักตบชวา เพื่อนำมาศึกษาศักยภาพในการผลิตเส้นด้ายปั่นผสมเส้นใยผักตบชวาและฝ้ายในอัตราส่วน 50/50 ด้วยระบบ Open-End spinning ระดับห้องปฎิบัติการ ผลขององค์ประกอบทางเคมีของเส้นใยหลังการสกัดด้วยเครื่องขูดเส้นใย มีปริมาณเซลลูโลส 53.84% ผลของการวิเคราะห์หมู่ฟังชั่นด้วย FTIR พบว่า ที่อายุ 6 เดือน เส้นใยมีปริมาณเซลลูโลสและเอมิเซลลูโลสต่ำกว่าที่อายุ 4 เดือน ลักษณะสัณฐานของเส้นใยภายใต้กล้อง SEM พบการรวมกันของกลุ่มเส้นใย การสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบลักษณะพื้นที่หน้าตัดของเส้นใยผักตบชวามีรูพรุนที่กว้าง และมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมมุม การศึกษาทางกายภาพ ขนาดเส้นใยมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และมีค่าความแข็งแรงและสามารถในการดูดซับมีแนวโน้มลดลง เมื่อนำเส้นใยผักตบชวามาทดลองปั่นด้ายผสมกับเส้นใยฝ้ายในสัดส่วน 50/50 ด้วยระบบ Open End spinning เส้นใยด้ายปั่นผสมมีสมบัติเชิงกลลดลง 35% และมีความสม่ำเสมอ หนาบาง สูงกว่าด้ายฝ้าย 100% มาก แสดงศักยภาพของการนำเส้นด้ายปั่นผสมผักตบชวาในการทำผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ และเครื่องประดับตกแต่ง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.lib.ku.ac.th/KUCONF/2560/KC5406039.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
สมบัติกายภาพของเส้นใยผักตบชวา สำหรับการปั่นเส้นด้าย Q.E. ผสมเส้นใยผักตบชวาและฝ้าย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.