ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การโคลนชิ้น cDNA สายสมบูรณ์และศึกษาคุณลักษณะของโปรตีน PIWI ในกุ้งกุลาดำ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุจิตราภรณ์ สุขถาวร |
เจ้าของผลงานร่วม | รศ.ดร.อภินันท์ อุดมกิจ |
คำสำคัญ | โปรตีน PIWI |
หน่วยงาน | สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | กุ้งกุลาดำนับเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของคนไทย รวมทั้งยังเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้น้อยลงซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริโภคและการส่งออกของประเทศ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของปัญหาในการผลิตกุ้งในระบบฟาร์มเลี้ยงก็คือ การเพาะเลี้ยงกุ้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพทำให้ส่งผลต่อการผลิตของกุ้ง ในกุ้งพ่อพันธุ์พบปัญหาการผลิตกุ้งกุลาดำที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้กุ้งพ่อพันธุ์ผลิตสเปิร์มได้น้อยและไม่มีคุณภาพ ซึ่งจากการศึกษาทางชีวโมเลกุลพบว่า การควบคุมการผลิตสเปิร์มในกุ้งพ่อพันธุ์ ถูกควบคุมด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาทิเช่น กลุ่มของโปรตีน ฮอร์โมนและสารสื่อประสาท เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในโปรตีนที่สำคัญในการควบคุมการสร้างสเปิร์มในกุ้งแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ก็คือ โปรตีน PIWI ซึ่งพบว่า โปรตีนนี้มีหน้าที่ในการควบคุมระบบการพัฒนาการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในหลายๆชนิด และผลจากการศึกษา พบว่า โปรตีน PIWI เกี่ยวข้องการผลิตสเปิร์ม ซึ่งเมื่อทำการยับยั้งการแสดงออกของ PIWI ในอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ พบว่า จำนวนของสเปิร์มลดลง ดังนั้นการรู้คุณลักษณะและกลไกการทำงานของโปรตีน PIWI ในระดับชีวโมเลกุล จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะสามารถนำไปใช้ในเพิ่มคุณภาพและเพิ่มปริมาณการผลิตของลูกกุ้งกุลาดำในระบบฟาร์มของเกษตรกร |
สาขาการวิจัย |
|