- พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา
- 796 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ภาชนะจากเส้นใยทางใบปาล์มน้ำมัน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เพ็ญนภา จันทร์ผ่อง |
เจ้าของผลงานร่วม | อมรทิพย์ เพ็ญสมบูรณ์ , จิระวัฒน์ อินทสุรัช , จิรวัฒน์ พระหัต , ณัฐวรรณ แสงสวี , นวลอนงค์ อุชุภาพ , ภาวินี เดชโชติ |
คำสำคัญ | เส้นใยทางใบปาล์มน้ำมัน;ภาชนะอาหาร |
หน่วยงาน | วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การนำเส้นใยทางใบปาล์มน้ำมันที่ปล่อยทิ้งไว้จำนวนมากมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อบรรจุอาหารและเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อใช้งานแทนโฟม พบว่า 1. อัตราส่วนของเส้นใยทางใบปาล์มน้ำมันต่อตัวประสานน้ำแป้งมันสำปะหลังที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อแน่นแข็งขึ้นรูปได้ง่ายมากที่สุด คือ อัตราส่วน 1:3 รองลงมา คือ อัตราส่วน 1:4 และอัตราส่วน 1:2 ตามลำดับ 2. แรงอัดขึ้นรูปเส้นใยทางใบปาล์มน้ำมันที่เหมาะสม คือ แรงอัด 1,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ที่ความร้อน 150 องศาเซลเซียส เวลา 8 นาที 3. ชนิดของเส้นใยพืชที่มีผลต่อลักษณะของผลิตภัณฑ์ โดยที่แรงอัดเดียวกัน เวลาและอุณหภูมิเท่ากัน เส้นใยที่อัดขึ้นรูปเป็นภาชนะได้ดีคือ เส้นใยทางใบปาล์มน้ำมัน รองลงมา คือ เส้นใยต้นกล้วย และเส้นใยเปลือกทุเรียน ตามลำดับ 4. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเส้นใยที่มีขนาดเล็กจะใช้เวลาเฉลี่ยในการดูดซับน้ำมากกว่าเส้นใยขนาดใหญ่ นั่นคือ ด้านการดูดซับน้ำได้ดีกว่าเส้นใยที่มีขนาดใหญ่ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tistr.or.th/tistrblog/wp-content/uploads/2018/07/E-book_kidskidvit_32-1.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ภาชนะจากเส้นใยทางใบปาล์มน้ำมัน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.