ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากจำปาดะอย่างยั่งยืน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุวรรณี พรหมศิริ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | การอนุรักษ์;จำปาดะ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | จำปาดะ เป็นไม้ผลพื้นถิ่นแผ่นดินใต้ ของจังหวัดสตูล สงขลา และพัทลุง จำปาดะ เป็นผลไม้ที่มีกลิ่นหอมหวาน เฉพาะตัว ชาวสตูล สงขลา พัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช นิยมปลูกไว้รับประทานและจำหน่ายสืบทอดกันมาเป็นเวลานานแล้ว จากการปลูกแบบสวนไม้ผลหลังบ้านในอดีต ปัจจุบันมีการปลูกเป็นสวนกันมากขึ้น เพราะสร้างรายได้เป็นอย่างดี เป็นพืชทนแล้ง ไม่ต้องการปุ๋ยมาก ปลูกกับพืชชนิดอื่น ๆ ได้ ออกลูกดก และจำปาดะยังเป็นไม้ผลประจำถิ่นที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่ออนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง เชื่อกันว่านำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย จำปาดะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของชาวสตูล และสงขลา ทำให้ผู้นำในท้องถิ่นเห็นความสำคัญของผลไม้ชนิดนี้ และได้มีการจัดงาน “วันจำปาดะและของดีเมืองสตูล” ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2534 และจัดติดต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการตลาดให้แก่เกษตรกรชาวสวน จำปาดะนอกจากเป็นพืชเศรษฐกิจแล้วทุกส่วนของจำปาดะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และมีคุณค่าต่อระบบนิเวศมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่น มีบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 มาตรา 7 ที่ระบุว่า ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยดำเนินการผ่านพันธกิจของมหาวิทยาลัย ทั้งการจัดการศึกษา วิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคมปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้ โดยมุ่งส่งเสริม สนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของประเทศ ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลามีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องเร่งเร้าให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ศึกษาวิจัย การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากพืชอย่างยั่งยืน และเพื่อให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการอนุรักษ์พันธ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และที่สำคัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้รับงบประมาณอุดหนุนการทำวิจัยในเรื่องการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากจำปาดะ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดของจังหวัดสตูล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558-2560 ต่อเนื่อง 3 ปี ซึ่งในปัจจุบันผลงานวิจัยในปี งบประมาณ 2558 จำนวน 8 เรื่อง และขยายผลต่อยอดงานวิจัยออกไปหลายกิจกรรม และปีงบประมาณ 2559 จำนวน 10 เรื่อง และร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านที่มีภูมิรู้ในด้านต่าง เกี่ยวกับจำปาดะมาบูรณาการ คณะนักวิจัยมีองค์ความรู้พร้อมที่จะถ่ายทอดให้กับชุมชนในจังหวัดสตูลจังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชาวสวนได้นำนวัตกรรมที่ถ่ายทอดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเห็นคุณค่าทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเพื่อเสริมสร้างกลไกความร่วมมือในระบบเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการกำหนดแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากจำปาดะอย่างยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและตรงตามความต้องการของแต่ละพื้นที่เพื่อนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากจำปาดะอย่างยั่งยืน ถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดสตูล และสงขลา เพื่อวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากจำปาดะอย่างยั่งยืน ถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดสตูล และสงขลา ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการจะก่อให้เกิดประโยชน์และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากการแปรรูปผลจำปาดะ เช่น ไอศกรีมจำปาดะ คุ้กกี้ จำปาดะแช่อิ่มอบแห้งฯลฯ |
สาขาการวิจัย |
|