ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การทดสอบระยะการเอื้อมมือเพื่อระบุการล้ม ความสามารถในการเคลื่อนย้ายตัวและความสามารถในการทำกิจกรรมในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วิทยา ดวงงา
เจ้าของผลงานร่วม รศ.ดร.รัมภา บุญสินสุข , ผศ.ดร. จิราภรณ์ วรรณปะเข
คำสำคัญ ระยะการเอื้อมมือ;ประวัติการล้ม;การเคลื่อนย้ายตัว;บาดเจ็บไขสันหลัง;functional reach test;fall;ambulation;spinal cord injury
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย ระยะจุดตัดการเอื้อมมือไม่สามารถจำแนกผู้ที่มีประวัติการล้มได้ชัดเจน แต่พบว่า ผู้ที่มีระดับความสามารถในการทำกิจกรรมที่สูง (functional ability) มีความเสี่ยงต่อการล้มที่มากกว่าผู้ที่มีระดับความสามารถในการทำกิจกรรมน้อย นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่มีจุดตัดระยะการเอื้อมมือในท่านั่งที่มากกว่า 10.17 ซม. สามารถจำแนกผู้ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวด้วยอุปกรณ์ช่วยเดินได้ จากผลการวิจัยไปใช้เพื่อวางแผนการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันการล้ม รวมถึงการให้คำแนะนำในการเลือกใช้อุปกรณ์หรือฝึกการใช้อุปกรณ์ในเคลื่อนย้ายตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง