ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบห้องสอบสวนเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมในประเทศไทย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง มีชัย สีเจริญ
เจ้าของผลงานร่วม อัศว์ณุต แสงทองดี, ไกรวุฒิ วัฒนสิน, พงษ์เทพ จันทร์เจริญ, ดิฐภัทร บวรชัย
คำสำคัญ การสอบสวน, ห้องสัมภาษณ์เด็ก, การอำนวยความยุติธรรมทางอาญา, หลักการเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง, การสัมภาษณ์เด็กในเชิงคดี
หน่วยงาน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบห้องสอบสวนของภาครัฐและภาคเอกชน วิเคราะห์ข้อจำกัดการใช้ห้องสอบสวน และออกแบบสถานที่สอบสวนของสถานีตำรวจ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างศึกษาเชิงเอกสาร เก็บข้อมูลภาคสนามแบบมีส่วนร่วม สัมมนาระดมความคิดเห็น และออกแบบจำลองสถานที่ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ห้องสอบสวนเด็กที่ดีควรแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ได้แก่ ห้องสัมภาษณ์ ห้องติดตามรับฟัง ห้องรับรองผู้เยาว์ และห้องชี้ตัวผู้ต้องหา สภาพแวดล้อมต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือ อุปกรณ์ต้องมีระบบบันทึกภาพและเสียงพร้อมทั้งระบบสำรองข้อมูล เครื่องมือสัมภาษณ์ควรจัดให้มีอุปกรณ์เสริมการเล่าเรื่อง เช่น ตุ๊กตารูปร่างคน บ้านตุ๊กตา กระดาษวาดเขียน เป็นต้น บุคลากรผู้สัมภาษณ์ต้องเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการสอบสวนเด็กและเยาวชนและมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี ผลสำรวจความพึงพอใจ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมากกว่าร้อยละ 80 พึงพอใจข้อเสนอรูปแบบห้องสอบสวนในระดับมาก ซึ่งสะท้อนถึงความคุ้มค่าของงานวิจัยที่มีต่อการจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงสถานีตำรวจในอนาคต รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของสถานีตำรวจให้ตอบสนองการสอบสวนผู้เยาว์โดยสามารถลดความสิ้นเปลืองในการพัฒนาโครงสร้างอาคารของสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลสำเร็จของงานวิจัยจะนำไปสู่กรอบแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาแก่เด็กและเยาวชนภายใต้การคำนึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบห้องสอบสวนเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมในประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง